Tagged: 364436
เรียน คุณ Mooni ตามคำถามที่ท่านสอบถามมานั้น ขออนุญาตอธิบายดังนี้ กรณีดังกล่าวอาจต้องดูว่าหน้าที่ของท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลทรัพย์สินของนายจ้างหรือไม่อย่างไร เมื่อมีหน้าที่แล้วใช้ความระมัดระวังในการเฝ้าระวังไม่ให้ทรัพย์สินนายจ้างสูญหายอย่างไรบ้าง ถ้าลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหาย ก็สามารถให้ลูกจ้างชำระค่าเสียหายดังกล่าวได้ โดยอาจหักจากค่าจ้างตาม ม.76 (4) และทำเป็นหนังสือให้ลูกจ้างยินยอมตาม ม.77 ประกอบด้วย ทั้งนี้นายจ้างควรสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการดังกล่าว แต่หากลูกจ้างไม่ยินยอมให้หักค่าจ้าง นายจ้างก็สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายแพ่งได้
ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
2. สายด่วน 1546
3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน
ต้องการสอบถาม ตอนนี้ทำงานให้บริษัท A สาขาในไทย เป็นเวลา 10 ปีแล้ว แต่ด้วยโครงการในประเทศลดลงจึงมีความจำเป็นต้องย้ายไปสาขาอื่นของบริษัท A ใน ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี แล้วจะกลับมาประจำที่ สาขาในไทยเหมือนเดิม อยากทราบว่า เมื่อกลับมา อายุงานตามกฏหมายจะต่อเนื่องเหมือนเดิมไหมครับ คือจะเป็น 0 หรือ 10 หรือ 12 ปี
สวัสดีค่ะ
เนื่องจากว่าพึ่งได้งานแรกหลังจากเรียนจบ แต่เกิดความไม่สบายใจกับสัญญาจ้างจึงอยากขอคำปรึกษาค่ะ
สัญญาเป็นสัญญาจ้างพนักงานชั่วคราว
มีกำหนดระยะเวลารวมทดลองงาน 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม65-1กรกฎาคม66 และนายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างในเวลาใดๆ ระหว่างอายุสัญญาทดลองงานได้
ในสัญญามีระบุว่าถ้าหากลาออกก่อนกำหนดจะต้องจ่ายค่าปรับเป็น2เท่าของเงินเดือน โดยจะต้องมีคนเซ็นค้ำประกันสัญญาด้วย
ตอนที่ไปสัมภาษณ์งานทาง hr แจ้งว่าสัญญา4เดือน ผ่านโปรแล้วจะต่อเป็น 1 ปี
เมื่อไปทำงานวันแรก hr กลับให้เซ็นสัญญา1ปี
ทางลูกจ้างมีการทวงถามแล้ว แต่ทาง hr แจ้งว่าถ้าไม่โอเคกับสัญญานี้ไม่ควรมาตั้งแต่แรก ทำให้ลูกจ้างรู้สึกกดดัน รวมถึงกลัวไม่ได้งานค่ะ และเนื่องจากเป็นงานแรกเลยยังไม่มีความรู้ด้านนี้มาพอค่ะ
ถ้าสัญญาเป็นแบบนี้จะทำอย่างไรได้บ้างคะ แจ้งทางhr เค้าบอกว่าต้องจ่ายเงินค่าปรับตามสัญญาจ้าง ถ้าหากไม่จ่ายเค้าจะทำการฟ้องศาลค่ะ
เรียน คุณสุธรรม ที่ท่านสอบถามมานั้น เป็นเรื่องของอายุงานที่ต้องนำมานับต้องต่อเนื่องกันไม่ขาดตอน ดังนั้น หากลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้วกลับเข้ามาทำงานใหม่ ในช่วงที่ออกไปนั้นจะนำมารวมไม่ได้เพราะถือว่าไม่ติดต่อกัน ต้องเริ่มนับอายุงานใหม่ ยกเว้นนายจ้างและลูกจ้างมีข้อตกลงในการนับอายุงานต่อให้
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
2. สายด่วน 1546
3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน
เรียน คุณKaimook ที่ท่านสอบถามมานั้น การที่ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ แต่ถ้าลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างหรือขาดงานไปโดยเหตุอันสมควรและชั่วระยะเวลาน้อยพอสมควรนั้น นายจ้างไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันถ้ามีเหตุสมควร เช่น ขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่แจ้งนายจ้าง นายจ้างก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้
การลงลายมือชื่อในอกสารหรือเซ็นชื่อลงในสัญญาจ้าง ย่อมมีผลผูกพันตามสัญญาแล้ว ไม่ถือว่าสัญญาตกเป็นโมฆะ ส่วนสัญญาจ้างได้เปรียบหรือไม่ก็ต้องไปดูในสัญญาจ้าง เพราะอย่างไรก็ตามกฎหมายก็คุ้มครองในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ส่วนที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างเรียกค่าผิดสัญญานั้น หากเห็นว่าเรียกร้องมาสูงเกินความเสียหายที่แท้จริง ศาลแรงงานมีการนัดไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันได้ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง แต่ถ้านายจ้างกับลูกจ้างไม่อาจตกลงหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้ ศาลแรงงานก็ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานกันต่อไป แต่ถ้าลูกจ้างไม่ผิดสัญญาศาลก็พิพากษายกฟ้องได้เข่นกัน
กรณีนายจ้าง ไม่ยอมให้ลาออก ทั้งๆที่แจ้งล่วงหน้าก่อน 30 วันแล้ว สามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ
ขอคำปรึกษาค่ะ ถ้าลาออกมีผลวันที่ 5 สิงหาคม บริษัทต้องจ่ายเงินเดือนของเดือนสิงหาให้ภายใน3วันทำการไหมคะ หรือเขาสามารถจ่ายตามรอบเงินเดือนคือวันที่ 25 ของเดือนได้ตามปกติ
เรียน คุณMarine Tender การที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนารมณ์การขอลลาออกอย่างชัดเจน โดยให้มีผลของการลาออกนั้น ไม่จำเป็นต้องให้นายจ้างอนุมัติก็ได้ หากมีความเสียหายต่องานที่ลูกจ้างทำ นายจ้างสามารถใช้สิทธิเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง กับทางศาลแรงงานได้
เรียน คุณวาสนา กรณีที่ลูกจ้างขอลาออก การจ่ายค่าจ้าง จะมีผลการจ่ายค่าจ้างตามรอบการจ่ายค่าจ้างนั้น ตามจำนวนวันทำงานที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงาน
รบกวนสอบถามคับ คือผมอายุ 57 แล้ว มีการเขียนใบสมัครงาน และมีการโอนเงินเดือนแต่ไม่ได้เข้าประกันสังคมแล้ว เพราะยื่นชราภาพและอายุเกิน เข้าไปทำงานบริษัทนึงได้ 4 เดือนแล้ว วันดีคืนดี บริษัทแจ้งว่าให้ออกจากงานโดยอ้างสภาพค่องของบริษัท ผมสามารถ
ขอปรึกษาค่ะ บริษัทยื่นข้อเสนอให้ในเงินเดือนจำนวนหนึ่ง เราจึงตกลงทำสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ และทำเซ็นสัญญามีลายเซ็นประธานบริษัทเรียบร้อย แต่เมื่อเริ่มงานได้ 2 วัน ฝ่ายHR แจ้งว่าเอกสารผิดพลาด ฐานเงินเดือนลดลงจากที่ตกลงกันไว้ ทั้งที่ก่อนมาเซ็นเอกสารทางบริษัทมีเวลาตรวจสอบเอกสารถึง 1 อาทิตย์ก่อนให้พนักงานเซ็น แต่กลับมาขอเปลี่ยนเอกสารเงินเดือนหลังจากที่เซ็นไปแล้วมีลายเซ็นประธานบริษัทเรียบร้อย พนักงานต้องเสียโอกาสและเวลาจากความผิดพลาดของบริษัท แบบนี้จะทำไงได้บ้างคะ
เรียนสอบถามดังนี้ค่ะ
เริ่มงาน สิงหาคม 2564 ด้วยตำแหน่ง ผู้ประสานงานฝ่ายปฏิบัติการ
กุมภาพันธ์ 2565 เลื่อนตำแหน่งเป็น เจ้าหน้าที่แผนกฝึกอบรมห้องควบคุม
ทางหัวหน้าจะให้หยุดการฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของตนเองและกลับไปปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประสานงานฝ่ายปฏิบัติงาน ทางหัวหน้างานสามารถทำได้หรือไม่
ก่อนหน้านี้ หัวหน้ามายื่นข้อเสนอให้ย้ายแผนกไปอยู่ส่วนหัวหน้างานฝ่ายสถานี ซึ่งได้ปฏิเสธไป และไม่มีความรู้ทางด้านฝ่ายสถานีเลย จะสามารถถือว่าเป็นย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่
หัวหน้าจึงมายื่นข้อเสนออีกครั้ง ให้กลับไปทำตำแหน่งงานเดิมอีกครั้ง ด้วยเหตุผลว่าไม่ผ่านคุณสมบัติเจ้าหน้าที่แผนกฝึกอบรมห้องควบคุม
แต่พนักงานได้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติที่ลงประกาศรับสมัครงานแล้วคือผ่านทุกข้อ และการเปลี่ยนตำแหน่งก่อนหน้ามีระยะทดลองงานกับตำแหน่งใหม่อีก 1 ครั้ง
(ตอนรับตำแหน่งงานครั้งแรกมีช่วงทดลองงานแล้ว 1 ครั้ง) และผ่านเรียบร้อยแล้ว จะมาแจ้งว่าไม่ผ่านคุณสมบัติได้หรือไม่
ในสัญญาจ้างงานมีการระบุดังต่อไปนี้
-พนักงานรับทราบและตกลงยินยอมให้บริษัทฯ มีสิทธิเปลี่ยนแปลงวัน เวลาทำงาน หรือสถานที่ทำงานได้ตามความเหมาะสมกับตำแหน่งและหน้าที่ของพนักงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บริหารจัดการธุรกิจและการดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ
-ในกรณีที่บริษัทฯ เห็นว่าประสบการณ์และความรู้ความเชี่ยวชาญของพนักงานจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทในเครือฯของบริษัทฯ หรือบริษัทสาขาของบริษัทฯหรือบริษัทผู้รับจ้าง xxxxxxxx หรือในกรณีที่ บริษัทฯ มีความเห็นว่าพนักงานจะได้รับความรู้และประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญจากธุรกิจของบริษัทในเครือฯ บริษัทสาขา หรือบริษัทผู้รับจ้าง xxxxxxxxxx และสามารถนำความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เหล่านั้นมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทฯในอนาคต พนักงานยินดีและตกลงให้บริษัท มีสิทธิโอนย้าย ปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่และลักษณะของงาน ตามความเหมาะสม หรือมอบหมายให้พนักงานไปทำงาน ฝึกงาน ฝึกอบรม โดยวิธีการให้ยืมตัว หรือวิธีการจ้างงานโดยตรง กับบริษัทในเครือสาขา หรือบริษัทผู้รับจ้าง xxxxxx (ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานที่มีสถานที่ตั้งภายในประเทศหรือต่างประเทศ)
1. ทางหัวหน้างานให้เรากลับไปช่วยงานในตำแหน่งเดิม สามารถทำได้หรือไม่ ถือว่าเป็นการโยกย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่
2. ทางหัวหน้างานให้เปลี่ยนตำแหน่งงาน เป็นตำแหน่งหัวหน้างานฝ่ายสถานีซึ่งเราไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลย และจะต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ซึ่งหากตกลงทางหัวหน้างานจะให้เข้าอบรมสำหรับตำแหน่งงานนี้เพิ่มเติม สามารถปฏิเสธได้หรือไม่คะ ถือว่าเป็นการโยกย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่
3. การเลื่อนตำแหน่งและการผ่านทดลองงานสำหรับตำแหน่งใหม่ผ่านเรียบร้อยแล้ว หัวหน้างานจะมาแจ้งว่าไม่ผ่านคุณสมบัติต่อตำแหน่งหน้าที่ใหม่ได้หรือไม่ และใช้สิ่งนี้เป็นเหตุผลให้เราต้องย้ายตำแหน่งได้หรือไม่
4. หัวหน้าต้องการให้เราหยุดการฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อตำแหน่งใหม่ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมแผนกห้องควบคุม สามารถทำได้หรือไม่
ขอบคุณมากค่ะ
ขอปรึกษาค่ะ บริษัทนึงว่าจ้างให้พนักงานไปทำงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ 1-8-22 มีหน้าที่ขับรถในลานจอดเครื่องบินโดยเวลาทำงานเป็นกะ หมุนเวียนกัน โดยเข้างาน
08.00 – 17.00 + OT 17.15-20.00 = 6วัน หยุด 1 วัน จากนั้นเปลี่ยนกะ
20.00 – 05.00 + OT 05.15-08.00 = 6วัน หยุด 1 วัน จากนั้นเปลี่ยนกะเข้าเช้า ซึ่งช่วงเข้ากะดึกออกเช้า หยุด 1 วันแทบไม่มีเวลาพัก ต้องเข้าเช้าอีก
สอบถามว่า ช่วงเวลาการทำงาน เกินกว่ากฎหมายกำหนดหรือไม และ ช่วงชั่วโมง OT บังคับ หักเบรค 15 นาที ถูกต้องหรือไม บริษัทบังคับ OT ทุกวัน
ทางพนักงานร้องขอเนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ช่วงเวลาทำงานกะกลางคืนติดกัน 6 วัน จึงร้องขอให้บริษัทเปลี่ยนตารางทำงานเป็น 12 ชม ทำงาน 4 วันหยุด 3 วัน
หรือ ทำ 5 วัน หยุด 2 วัน ได้คำตอบจากบริษัทว่า หยุดเยอะและเอาเปรียบบริษัท ซึ่งเวลาการทำงานรวมแล้ว 48 ซม ต่อสัปดาห์ และไม่ต้องจ่าย OT พนักงานเอาเปรียบบริษัทไหม
บริษัทให้พักร้อน 1 ปี 7 วัน แต่ต้องหาคนทดแทนโดยไม่เป็น OT สำหรับคนที่มาแทนตารางงาน ซึ่งพนักงานไม่สามารถแทนเวรผู้อื่นได้ เนื่องจากถ้าแทนเวรเช้าต้องทำเวรของตัวเอง รวม 24 ชม
ถูกต้องหรือไม
เราทำงานกับบริษัทมา 7 ปี ทำเรื่องโอนย้ายภายในไปทำตำเเหน่งใหม่ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกัน
ในตำเเหน่ง admin ในช่วงระยะเวลา 2 เดือนที่เรามาเริ่มงาน เราไม่ได้ทำงานที่ตรงกับตำเเหน่งของเราเลย หัวหน้าให้เราไปทำงานบริการ อาทิเช่น ให้ไปทำงานล้างห้องน้ำ ทำความสะอาดบ่อดักไขมัน ฯลฯ ซึ่งลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายเเตกต่างจากที่เคยให้รายละเอียดงานไว้ตอนที่สัมภาษณ์เข้างาน ซึ่งเขาเเจ้งว่าเป็นงานที่เราต้องเรียนรู้ ให้ถ่ายรูปรายงานด้วยว่าเราทำจริงๆ เราทำอย่างนี้มาตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่อยู่ที่นั้น
พอครบ 2 เดือนของการทำงาน หัวหน้าได้เรียกเรามาคุยเเจ้งว่าจะย้ายเราไปทำงานแผนกบริการ (ไม่ได้เป็นการคุย เพื่อปรึกษากับเราส่วนตัว เเต่เป็นการคุยโดยเรียกหัวหน้าแผนก admin ,เเผนกบริการ เเละ HR มาคุยด้วย) โดยให้เหตุผลว่าเราไม่สามารถทำงาน admin ได้ ทั้งๆ ที่มอบหมายให้ทำงานเกี่ยวกับ admin เพียงเเค่ 2 ครั้งเท่านั้น เเต่เราได้เเจ้งไปว่าเราไม่ได้ต้องการย้ายงาน ถ้าจะให้เราไปทำงานคนละตำเเหน่งกับที่เราโอนย้ายมา เราไม่โอเครเเละถ้าให้เราทำเราจะขอลาออก วันรุ่งขึ้นมีประชุมบรีฟงานกับทีม ประมาณ 10 กว่าคน หัวหน้าก็ถามเรากลางที่ประชุมว่าเราจะเอายังไง จะย้าย จะลาออกหรือจะยังไง เพราะเราจะทำให้คนอื่นในทีมเสียเวลา ทั้งๆ ที่ในทุกๆ วัน เราก็ยังทำงานตามที่เขามอบหมายให้เราทำตามปกติ ไม่ได้ไม่ทำงานหรือหยุดงาน
หลังจากนั้นอีก 1 วัน HR ก็เอาใบลาออกมาให้เราที่โต๊ะ พร้อมกับบอกว่าให้เขียนเเล้วเอามาส่ง ตอนเเรกเราก็ไม่ได้เขียน เพราะไม่ได้อยากลาออก เเต่เราขอเวลา เราอยากจะขอย้ายกลับไปที่เดิม จนสุดท้ายหัวหน้าก็มาต่อว่าเราในที่ประชุมอีกครั้ง เเละบอกให้เราไปเอาใบลาออกมาเขียน เราเลยเขียนใบลาออก พร้อมทั้ง line ไปถาม HR ว่าถ้าเราเขียนวันนี้ มีผลให้ออกวันไหน เพราะเราเข้าใจว่าเราจะต้องเเจ้งก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน เเต่ HR ตอบเรากลับมาว่า “วันนี้ ไม่ต้องมาเเล้ว” เเละให้เราลงวันที่วันนี้เป็นวันทำงานวันสุดท้ายเลย
ขอคำปรึกษา เหตุการณ์เเบบนี้เราสามารถเรียกร้องค่าชดเชยหรืออะไรได้บ้างคะ
ขอคำปรึกษาหน่อยค่ะเคลียดมากเลยค่ะ พอดีทำงานเป็นลูกจ้างร้านคาเฟ่แบรนดังแห่งหนึ่ง ทั้งร้านมีลูกจ้างทั้งหมด 5 คน แต่นายจ้างไม่มีความยุธิธรรมกับลูกน้องเลยค่ะนายจ้างให้ความสำคัญกับลูกน้องคนเดียว ทั้งๆที่ลูกจ้างในร้านคนอื่นๆตั้งอกตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ และทัำงานเกินเวลาที่กฏหมายกำหนดคือทำงานวันละ 9 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน เสาร์อาทิตย์ทำงาน 11 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน หยุดอาทิตย์ละ 1 วัน ลูกน้องทุกคนทำงานหนักมากแต่เจ้านายกลับให้ความสำคัญกับลูกน้องเพียงคนเดียวเข้าข้างลูกน้องเพียงคนเดียว และบั่นทอนจิตใจลูกน้องที่เหลืออย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่เจ้านายทราบเรื่องที่ลูกน้องมีปัญหาเจ้านายได้ให้ลูกน้องปรับความเข้าใจพูดคุยกัน แต่เจ้านายก็ยังแสดงความเอนเอียงเข้าข้างลูกน้องที่ทำงานเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานอยู่เช่นเดิม ทำให้พนักงานในร้านที่เหลือเกิดการอึดอัดไม่สบายใจที่จะทำงานต่อไปได้จึงลาออกจากงานพร้อมกันทั้งหมด แต่น้อยจ้างไม่พอใจมาก และขู่ว่าจะทำเรื่องฟ้องศาลเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้างที่ลาออกพร้อมกันทั้งหมดที่ทำให้ร้ทนเสียหาย อย่างงี้เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างค่ะแล้ว เจ้านายยังจะสามารถฟ้องเอาผิดเราได้อยู่รึป่าวค่ะ ศาลจะให้ความเห็นใจแรงงานอย่างเราหรือไม่