Skip to main content

ขอคำปรึกษา

หน้าหลัก Forums กระทู้ถาม ขอคำปรึกษา

Tagged: 

  • This topic has 104 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 2 years ago by  ต้น.
กำลังดู 15 ข้อความ - 61 ผ่านทาง 75 (ของทั้งหมด 105)
  • Author
    Posts
  • #360394
    Bee 360394

    ขอสอบถามครับ
    นายจ้าง(บริษัท)ถูกตรวจจับการใช้ซอฟแวร์ผิดกฎหมาย โดยมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งเป็นของลูกจ้างถูกตรวจพบซอฟแวร์ผิดกฎหมายซึงมีการใช้งานมาก่อนการเข้าทำงานกับทางนายจ้าง คอมส่วนบุคคลดังกล่าวลูกจ้างนำมาให้บริษัทใช้งานโดยความเต็มใจเพื่อให้บริษัทใช้แสวงหาผลประโยชน์ แต่เมื่อเกิดคดีความที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทซอฟแวร์กับบริษัทนายจ้าง นายจ้างมีการชดให้บริษัทซอฟแวร์อย่างถูกต้อง หลังจากนั้นนายจ้างเห็นว่าคอมดังกล่าวเป็นของส่วนบุคคลของลูกจ้าง จึงจะให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายที่ถูกเรียกเก็บไปกับบริษัทซอฟแวร์ ในทางกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างต้องรับผิดชอบหรือไม่ ทั้งที่ทรัพย์สิน(คอม)ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกจ้างและถูกยึดเป็นของกลางเพราะตรวจพบการใช้งานซอฟแวร์ผิดกฏหมายและใช้แสวงหาผลประโยชน์ของบริษัท หากลูกจ้างไม่ยอมชดใช้จนเกิดคดีความ เป็นไปได้หรือไม่ว่าความผิดสูงสุดของลูกจ้างคือถูกไล่ออกและชดใช้ค่าเสียหาย หรือในกรณีนี้ลูกจ้างไม่มีความผิดฐานใดเลยและลาออกอย่างถูกต้องได้เป็นปกติ รบกวนผู้รู้ด้วยครับ

    #360597
    Jakkrit 360597

    รบกวนสอบถามครับ
    บ.ออกหนังสือให้พนักงานยินยอมให้ใช้รถส่วนตัวของพนักงานในการปฏิบัตืงานของบริษัท
    โดยในหนังสือดังกล่าว ระบุว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถ ค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำมัน ค่าประกันภัย ค่ายาง บริษัทจเะเป็นผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด โดยจะจ่ายเงินผ่านระบบเงินเดือนให้พนักงาน
    คำถามคือ
    1.หากพนักงานเซ็นยินยอมในเอกสารแล้ว
    บ.จะสามารถนำอุปกรณ์ระบุตำแหน่ง(GPS)
    มาติดที่รถพนักงานได้หรือไม่
    2.จะมีผลเสียที่ส่งผลกระทบต่อพนักงานในด้านอื่นๆอีกหรือไม่
    ขอบคุณครับ

    #360699
    Moeji 360699

    ขอคำปรึกษาค่ะ
    บริษัทมีระเบียบเรื่องการลงเวลาว่า พนักงานจะต้องลงเวลาเข้า-ออกงานผ่านแอพพลิเคชันในมือถือ ทุกวันตามเวลาเข้า-ออกงาน ถ้าพนักงานคนใดลืมลงเวลาเกิน 3 ครั้ง บริษัทจะทำการหักเงินค่าจ้าง
    1 ครั้ง = เงินค่าจ้างครึ่งวัน

    ในกรณีของเราคือลงเวลาเข้างาน แต่ gps ไม่ถูกต้องเนื่องจากความผิดพลาดของระบบ HR ยืนยันว่าจะต้องหักเงินค่าจ้างตามประกาศบริษัทเท่านั้น ตรงนี้สามารถทำได้ตามเงื่อนไขของมาตรา 76 หรือไม่คะ

    ปล. พนักงานสามารถพิสูจน์ได้ว่ามาถึงบริษัทจริง (จากการดูกล้องวงจรปิด)

    #360861
    Twizty 360861

    เรียนเจ้าหน้าที่ กรมแรงงานครับ

    ผมมีความจำเป็นต้องขอคำปรึกษา ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าแรงคงเหลือจากการปฏิบัติหน้าที่ครับ เหตุเริ่มต้น ผมได้มีการหยุดปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา และได้มีการแจ้งหยุดปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 14 ตุลาคม 2565 ผ่านทางไลน์ ซึ่งนายจ้างมีการรับทราบ โดยการเปิดอ่านข้อความที่ส่งไป แต่ไม่มีการตอบกลับแต่อย่างใด จนวันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นวันที่ต้องได้รับเงินเดือน แต่สรุปไม่มีเงินเดือนเข้ามาในบัญชี ซึ่งอันที่จริงทางบริษัทสามารถทำจ่ายให้ผมได้ปกติโดยคิดจากวันทำงานของผมที่มีการปฏิบัติหน้าที่จริง และทำจ่ายได้ปกติ
    ผมจึงได้สอบถามไปทางที่บริษัทว่า ไม่ได้ทำจ่ายเงินเดือนที่เหลือให้ผมหรือครับ ทางบริษัทแจ้งกลับมาว่า ใช่ค่ะ เพราะแจ้งออกไม่ถูกต้อง ซึ่งอันนี้ผมเข้าใจ เพราะมีเหตุจำเป็นที่ไม่ได้เซ็นใบลาออก แต่ผมแจ้งผ่านทางไลน์แล้วนะ ซึ่งนายจ้างก็ได้เปิดอ่านแต่ไม่ตอบกลับมา แต่ด้วยความเข้าใจของผม คือ คาดว่าจะได้รับเงินเดือน ถึงแม้รายได้อื่น ๆ จะไม่ได้ผมก็ยินดีที่จะไม่รับในส่วนของรายได้อื่น เช่น ค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น แต่อย่างน้อยผมควรจะได้รับในส่วนที่เป็นค่าแรงจากการปฏิบัติหน้าที่ ถูกต้องหรือไม่ครับ ซึ่งคราวนี้ ผมได้มีการทักท้วงไปว่า ต้องได้นะ แต่ทางบริษัทแจ้งว่า จะต้องเข้ามาที่ออฟฟิศเท่านั้น ซึ่งผมไม่สามารถเดินทางไปได้ ด้วยสถานะที่อยู่ไกล และไม่สะดวกเดินทาง ก็เลยแจ้งว่า หากต้องการให้ผมเซ็นเอกสารอะไร สามารถจัดส่งให้ผมทาง Email ได้เลย ผมยินดีปริ้นเอกสารออกมาให้และเซ็นกลับให้อย่างเร่งด่วน จะได้ตัดจบปัญหาตรงนี้ แต่ไม่ได้รับคำยินยอมหรือแม้ข้อความตอบกลับมา จึงอยากสอบถามว่า กรณีของผมแบบนี้ จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างครับ ที่จะให้ทางบริษัทยอมจ่ายค่าแรงที่เหลือให้ผม

    #360862
    ทุกข์ใจไม่รู้จะไปผึ่งใคร 360862

    ดิชันทำงานที่บริษัทนี้นานมากกว่า20ปี​ การประเมินการทำงานอยู่ระบบดีมาตลอด​ จนได้รับการพิจารณาให้ขึ้นเป็นหัวหน้า​ แต่ภายหลังมีเด็กเส้นมารับตำแหน่งหัวหน้าแทนและตั้งแต่นั้นมาดิชันก็ถูกประเมินต่ำมาตลอด​จนทางทรัยากรบุคคลและบรรษัทภิบาลส่งหนังสือมาให้ไปอบรมพัฒนาคุณภาพ​นี้​ แสดงว่าทางบริษัทต้องการให้ดิชันออกหรือเปล่าค่ะ​ แล้วดิชันจะไปขอความเป็นธรรมจากที่ไหนค่ะ
    ขอความแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรค่ะ​ ทุกข์ใจมากกๆค่ะ​(ดิชั้นมีบ้านต้องผ่อนอยู่่ค่ะและลูกยังเด็กมากค่ะ)​ขอบคุณค่ะ

    #360872
    labourqa
    Moderator
    360872

    เรียน คุณBee
    กรณีที่บริษัท จะให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหาย บริษัทไม่มีสิทธิหักค่าจ้างเราได้ เว้นแต่ลูกจ้างยินยอมให้หัก หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจริง บริษัทสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่อศาลไเ้
    โดยหากลูกจ้างต้องการสอบถามเพิ่มเติมหรือหากไม่ได้รับความเป็นธรรม ลูกจ้างสามารถร้องเรียนพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดังนี้ครับ
    1) สายด่วน 1506 กด 3
    2) สายด่วน 1546
    3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 หรือ
    4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่http://eservice.labour.go.th (24 ชั่วโมง)

    #360873
    labourqa
    Moderator
    360873

    เรียน คุณJakkrit
    การที่บริษัทจะนำอุปกรณ์ระบุตำแหน่ง(GPS) มาติดตั้งกับรถส่วนบุคคล ควรต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้าง หากในสัญญาจ้างนั้นไม่เป็นธรรมสามารถยื่นร้องต่อศาลแรงงานได้

    #360874
    labourqa
    Moderator
    360874

    เรียน คุณMoeji
    ตาม ม 76 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างไม่สามารถหักค่าจ้างในกรณีที่ ลืมลงเวลาการเข้าออกงานได้ แต่สามารถตักเตือนตามข้อบังคับของบริษัทได้ ลูกจ้างจึงสามารถเขียนคำร้องในกรณีหักค่าจ้างไม่ถูกต้องได้
    โดยหากลูกจ้างต้องการสอบถามเพิ่มเติมหรือหากไม่ได้รับความเป็นธรรม ลูกจ้างสามารถร้องเรียนพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดังนี้ครับ
    1) สายด่วน 1506 กด 3
    2) สายด่วน 1546
    3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 หรือ
    4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่http://eservice.labour.go.th (24 ชั่วโมง)

    #360875
    labourqa
    Moderator
    360875

    เรียน คุณTwizty
    เมื่อพ้นกำหนดการจ่ายค่าจ้าง แล้วนายจ้างไม่นำจ่าย สามารถยื่นคำร้องได้ตามสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 หรือ
    หรือสามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่http://eservice.labour.go.th (24 ชั่วโมง)

    #360876
    labourqa
    Moderator
    360876

    เรียน คุณทุกข์ใจไม่รู้จะไปผึ่งใคร
    หากในสถานะปัจจุบันยังคงมีสภาพเป็นลูกจ้างของบริษัท หน้าที่ของลูกจ้างคือปฏิบัติตามที่นายจ้างสั่ง หากวันหนึ่งโดนบอกเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด สามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้างได้
    โดยหากลูกจ้างต้องการสอบถามเพิ่มเติมหรือหากไม่ได้รับความเป็นธรรม ลูกจ้างสามารถร้องเรียนพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดังนี้ครับ
    1) สายด่วน 1506 กด 3
    2) สายด่วน 1546
    3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 หรือ
    4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่http://eservice.labour.go.th (24 ชั่วโมง)

    #360877
    Tor359442 360877

    เรียน คุณ labourqa ช่วยตอบหน้า 4 หน่อยครับ ชื่อผม Tor359442

    #360878
    ปฐมพงษ์ 360878

    ค่าบริหารสาขา ถือเป็นรายได้หรือไม่
    นายจ้างสามารถลงโทษลูกจ้างด้วยการตัดเงินส่วนนี้ออกได้หรือไม่

    และหากลูกจ้างปกปิดการทำงานที่ผิดพลาดเพื่อไม่ให้โดนตัดค่าบริหารสาขานี้ จะถือว่าเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่
    ขณะนี้ลูกจ้างถูกไล่ออก จึงไม่ได้ค่าชดเชย จากการทำงานมา 10 ปี ครับ

    #360879
    labourqa
    Moderator
    360879

    เรียน คุณTor
    สามารถแจ้งร้องเรียนและขอปรึกษาได้ที่กรมการจัดหางาน (กลุ่มงานทะเบียนจัดหางานกลาง) โทร. 0 2245 0964 , 0 2248 2278 โทรสาร 0 2245 0964
    ตามลิงค์ที่แนบครับ https://www.doe.go.th/prd/ipd/general/param/site/155/cat/32/sub/0/pull/singleview/view/contacts-view

    #360880
    labourqa
    Moderator
    360880

    เรียน คุณปฐมพงษ์
    ค่าบริหารสาขา ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นค่าจ้าง หรือสวัสดิการหรือไม่ การให้นี้มีเงื่อนไขหรือไม่ หากได้ประจำทุกเดือนโดยไม่มีเงื่อนไขถือว่าเป็นค่าจ้าง หากมีการหักส่วนนี้ออกไปถือว่าไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง สามารถยื่นคำร้องได้ และหากลูกจ้างปกปิดการทำงานที่ผิดพลาดเพื่อไม่ให้โดนตัดค่าบริหารสาขานี้ จะถือว่าเป็นการทำผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ ก็ต้องดูตามมาตรา 119 แห่งพรบ คุ้มครองแรงงาน พศ 2541 หากลูกจ้างคิดว่าไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรงจริงสามารถยื่นคำร้องได้ครับ
    มาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
    (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
    (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
    (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
    (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
    (5) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
    (6) ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
    ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
    ลูกจ้างสามารถร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ ที่ลูกจ้างทำงาน กรณีท่านต้องการปรึกษา หรือร้องเรียน ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด / กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th)
    เมนู ติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัด ที่ท่านอาศัยอยู่ (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)

    #360881
    labourqa
    Moderator
    360881

    เรียน คุณJeangbud
    ความผิดฐานฉ้อโกง ถือเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ ซึ่งหมายถึงผู้เสียหายและผู้กระทําความผิด สามารถเจรจาคืนทรัพย์สิน หรือชำระค่าเสียหายเพื่อยุติคดี แต่ยกเว้น “ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน” ผู้เสียหายต้องดําเนินการแจ้งความ หรือฟ้องคดีภายในเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่ทราบเรื่องและรู้ตัว ผู้กระทําผิด ไม่เช่นนั้น คดีจะขาดอายุความ

กำลังดู 15 ข้อความ - 61 ผ่านทาง 75 (ของทั้งหมด 105)
  • The forum ‘กระทู้ถาม’ is closed to new topics and replies.
TOP