Skip to main content

นายจ้างลดเงินเดือนและเวลาทำงาน

หน้าหลัก Forums สวัสดิการแรงงาน นายจ้างลดเงินเดือนและเวลาทำงาน

  • This topic has 57 ข้อความตอบกลับ, 2 เสียง, and was last updated 1 year, 8 months ago by  หัทยา.
กำลังดู 15 ข้อความ - 16 ผ่านทาง 30 (ของทั้งหมด 58)
  • Author
    Posts
  • #233098
    labourqa
    Moderator
    233098

    เรียน คุณ Anonymous 232935

    นายจ้างอาจแจ้งขอความร่วมมือโดยวาจาหรือเป็นอาจแจ้งเป็นหนังสือก็ได้ หากจะขอลดเงินเดือนลูกจ้างเป็นจำนวนเท่าใดหรือระยะเวลาเท่าไรก็ต้องแจ้งให้ชัดเจน ส่วนลูกจ้างมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมหรือยินยอมก็ได้ โดยอาจแจ้งเป็นวาจาหรือเป็นหนังสือกลับ ซึ่งในกรณีหากไม่ยินยอมและเมื่อถึงกำหนดนัดการจ่ายค่าจ้างปรากฏว่านายจ้างจ่ายไม่ครบ ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานพื้นที่เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อเรียกร้องเงินส่วนที่ที่นายจ้างจ่ายให้ไม่ครบต่อไป

    ขอบคุณครับ

    #233099
    labourqa
    Moderator
    233099

    เรียน คุณ pey 232958

    การขอลดเงินเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากสถานะการณ์ฯ ดังกล่าวติดต่อกันเรื่อยมา แต่ต่อมานายจ้างจะปิดกิจการ ก็ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหากไม่แจ้งล่วงหน้าและปิดเลย ก็ต้องดำเนินการจ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวและเงินชดเชยตามอายุงานหรือเงินอื่น ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในกรณีนี้ลูกจ้างถูกลดเงินเดือนลง 50% นั้น ต้องดูเงื่อนไขระหว่างกันและความยินยอมของลูกจ้าง ถ้าเป็นลดแค่ชั่วคราวเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค 19 การเลิกจ้างต้องจ่ายชดเชยตามค่าจ้างจำนวนเดิม แต่ถ้าหากเป็นการลดเงินเดือนถาวรการจ่ายเงินชดเชยจะจ่ายตามเงินเดือนที่ถูกลดลง ทั้งนี้หากนายจ้างไม่จ่าย จ่ายไม่ครบ จ่ายไม่ถูกต้อง ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

    ขอบคุณครับ

    #233100
    labourqa
    Moderator
    233100

    เรียน คุณ PB 232962

    กรณีรัฐบาลประกาศให้มีการทำงานที่บ้านเป็นการขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ถือว่าเป็นการปฏิบัติเป็นไปตามประกาศรัฐบาล ส่วนการลดเวลาทำงานหากมีผลต่อค่าจ้างที่ได้รับปกติ หรือการลดเงินเดือนก็ตาม ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องได้รับคำยินยอมจากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่เซ็นต์ยินยอมก็ไม่สามารถทำได้ หากภายหลังจ่ายค่าจ้างไม่ครบ ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานพื้นที่ต่อไปได้

    ขอบคุณครับ

    #233328
    Chantr 233328

    กรณีบริษัทขอลดเงินเดือนโดยแจ้งวาจาว่าลด 20% และแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 1 สัปดาห์ก่อนเงินเดือนออก และจะหักเลยในรอบเงินเดือนที่กำลังจะถึงนี้ (เช่น แจ้ง 29กค เงินเดือนออก 2 สค) และไม่มีเอกสารแจ้งทางการ เมื่อถึงวันเงินเดือนออก ปรากฎว่า เงินเดือนถูกหักไปมากกว่า 20% แบบนี้บริษัททำผิดกฏหมายแรงงานมั้ยคะ และลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้มั้ย
    ทั้งนี้ บริษัทได้แจ้งเพิ่มเติมอีกว่า หากลาป่วยทุกครั้งจะต้องมีใบรับรองแพทย์ แม้จะลาป่วยเพียง 1 วันก็ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ กรณีเช่นนี้ บริษัทสมควรทำและนำมาใช้กับพนักงานได้หรอคะ ลูกจ้างสามารถทำอะไรกับกฏแบบนี้ได้บ้างคะ รบกวนด้วยค่ะ / ขอบคุณมากๆค่ะ

    #233467
    Wassana 233467

    สอบถามครับ นายจ้างลดชั่วโมงทำงานลง 2 ครั้ง จากเดิม เข้างาน14:30-00:30 โดนลดเป็น 17:00-21:00 แต่ไม่มีการเรียกคุยปรับความเข้าใจให้ตรงกัน และรัฐบาลเยียวยา2500 ในกลุ่มที่มีประกันสังคม ส่วนนี้เราต้องได้
    นอกเหนื่อจากเงินเดือนไหมครับ และที่บริษัทมาลดชัวโมงทำงานเราลง
    ได้หรอ ให้เราเข้างาน17:00-21:00 จากปกติ14:30-21:00ในเดือนต่อไป สรุปร้านลดเงินเดือนเรา ส่วนที่ได้จากรัฐ 2500เอามาทดแทนที่โดนลงชัวโมงการทำงาน แบบนี้ขอปรึกษาหน่อยครับ

    #233497
    labourqa
    Moderator
    233497

    เรียน คุณ Chantr 233328
    การลดค่าจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างไม่สามารถกระทำได้ สำหรับการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ ดังนั้น หากลูกจ้างลาป่วยเพียง 1 วัน จึงไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ก็ได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านสามารถยื่นคำร้องเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ โดยสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th

    #233507
    labourqa
    Moderator
    233507

    เรียน คุณ Wassana 233467
    การปรับลดจำนวนชั่วโมงการทำงานและลดค่าจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างไม่สามารถกระทำได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านสามารถยื่นคำร้องเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ โดยสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th

    #233531
    Chantra 233531

    กรณีถูกนายจ้างลดเงินเดือนลงโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า มารู้อีกทีตอนเงินเดือนออกว่า ถูกหักเงินไป จึงได้สอบถามไปยังงหัวหน้างาน ได้คำตอบว่า ถูกลดเงินเดือน ทั้งที่ประเมินผลงานล่าสุด ได้หัวข้อปรับปรุง และระบุว่าจะไม่ได้ปรับเงินเดือน แต่ไม่เคยได้แจ้งว่า จะมีการลดเงินเดือน ทั้งยังไม่มีเอกสารหรือการแจ้งใดๆเป็นทางการและล่วงหน้าเลย นายจ้างทำเช่นนี้ ผิดหรือไม่ และเราเรียกร้องได้ใช่มั้ยคะ

    #233994
    Sathaporn 233994

    สอบถามครับ
    ถ้าบริษัทให้พนักงาน WFH แบบมีงานให้ทำ บริษัทสามารถลดเงินเดือน 20% โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าและไม่มีเอกสารให้เซ็นยินยอม สามารถทำได้หรือไม่ครับ

    #234232
    อะคิ 234232

    อยากทราบรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการหักเงินเดือนพนักงานตามกฎหมายแรงงานไทย:
    – ขั้นตอนการหักเงินเดือนพนักงานในประเทศไทยมีขั้นตอนอย่างไร? เนื่องจากบริษัทมีผลกระทบจากสถานะการณ์โควิด
    – ขั้นตอนการสมัครและดำเนินการใช้เวลานานเท่าใด?
    – บริษัทสามารถหักเงินเดือนสูงสุดได้กี่เปอร์เซ็นต์?

    ขอบคุณค่ะ

    #235277
    นันทนา 235277

    ขอสอบถามวิธีคำนวณการลดวันทำงานของพนักงานลงจากเดิมใน 1 เดือนต้องทำงานวันเสาร์ 2 วัน แล้วเปลี่ยนเป็นลดการทำงานวันเสาร์ลง เหลือทำเฉพาะวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ 8.30-17.30 น. เท่านั้น (เวลาทำงานใน 1 วัน เหมือนเดิม)

    สมมุติปัจจุบันก่อนลดเงินเดือน เดือนละ 30,000 บาท

    แบบนี้ต้องคำนวณยังไงค่ะ?

    #235535
    labourqa
    Moderator
    235535

    อะคิ 234232g
    ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และแก้ไขเพิ่มเติม
    มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
    (๑) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
    (๒) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
    (๓) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
    (๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
    (๕) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
    การหักตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

    #235540
    labourqa
    Moderator
    235540

    นันทนา 235277
    อ่านคำถามแล้วไม่เข้าใจ
    รบกวนติดต่อกองคุ้มครองแรงงานได้ทาง Line official @187mrglx
    หรือทางหมายเลขโทรศัพท์ กองคุ้มครองแรงงาน กลุ่มงานป้องกันฯ 02 246 8994, 02 246 2938
    หรือ 081 855 9180, 089 923 5491 ภายในวันและเวลาราชการ

    #237545
    BBT 09 237545

    สอบถามค่ะ โรงงารให้ทำ WFH และขอหักเงินเดือนลง 25% อันนี้ทำได้ไหมค่ะ คือเป็นการพูดเพียงวาจา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ให้เราอยู่ในโรงงานแบบ Seal เกือบ 1 เดือนโดยมีกำหนดที่ชัดเจนว่าจะยกเลิก Seal วันไหน แล้วอยู่ๆก็จะให้กลับไปทำงานที่บ้าน ซึ่งยังไม่ครบกำหนด seal โดยให้ทำงานที่บ้านแต่ลดการจ่ายเงินเดือนลง 25%

    #238173
    adminwebboard
    Keymaster
    238173

    เรียน คุณ BBT 09 กรณีดังกล่าวท่านสามารถขอรับรายละเอียดและให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงาน ได้ทาง Line official @187mrglx
    หรือทางหมายเลขโทรศัพท์ กองคุ้มครองแรงงาน กลุ่มงานป้องกันฯ 02 246 8994, 02 246 2938 หรือ 081 855 9180, 089 923 5491 ภายในวันและเวลาราชการ ครับ

กำลังดู 15 ข้อความ - 16 ผ่านทาง 30 (ของทั้งหมด 58)
  • You must be logged in to reply to this topic.
TOP