Skip to main content

doeqa

Forum Replies Created

กำลังดู 15 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 15 (ของทั้งหมด 21)
  • Author
    Posts
  • doeqa
    Participant
    371028

    เรียนคุณpaiji 369031

    แรงงานข้ามชาติสิทธิทำงานกับนายจ้างได้ทุกประเภทงานที่ไม่ได้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
    ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดงานห้ามตามลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/legal_th/68c9bf9be8ce0073681f327e8455e35f.pdf

    doeqa
    Participant
    371025

    เรียนคุณrattana 366782

    ใช่ค่ะ โดยสามารถดำเนินการผ่าน Single Window for Visa and Work Permit ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์
    บริษัทจะต้องได้รับ User ID และ Password ภายใน 1 วันทำการ หลังจากลงทะเบียนผู้ใช้จะได้รับชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
    ในกรณีที่บริษัทมี e-Expert ID อยู่แล้ว ID สามารถเข้าสู่ระบบได้ทันทีค่ะ

    หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ขอให้ติดต่อที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ค่ะ

    doeqa
    Participant
    371023

    เรียนคุณrattana 366782

    ใช่ค่ะ โดยสามารถดำเนินการผ่าน Single Window for Visa and Work Permit ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์
    บริษัทจะต้องได้รับ User ID และ Password ภายใน 1 วันทำการ หลังจากลงทะเบียนผู้ใช้จะได้รับชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
    ในกรณีที่บริษัทมี e-Expert ID อยู่แล้ว ID สามารถเข้าสู่ระบบได้ทันทีค่ะ

    หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ขอให้ติดต่อที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ค่ะ

    doeqa
    Participant
    371022

    เรียน คุณrattana 366782

    สัตวแพทย์เป็นวิชาชีพเฉพาะ จำเป็นต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ และเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการขอใบอนุญาตทำงาน หากนายจ้างประสงค์จ้างสัตวแพทย์ต่างชาติสามารถสอบถามรายละเอียด และเอกสารที่ต้องใช้ในการขอใบอนุญาตทำงานได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ หรือสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02 248 7202 ค่ะ

    doeqa
    Participant
    365092

    เรียนคุณ wavitchyagorn

    1. กรณีที่สอบถามเกี่ยวกับเอกสารที่ใช้ประกอบการเปลี่ยนนายจ้างจากบุคคลธรรมดาเป็นนายจ้างนิติบุคคล
    เอกสารที่ต้องใช้
    ของแรงงานต่างด้าว
    1.ใบอนุญาตทำงาน/หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตทำงาน
    2. สำเนาหนังสือเดินทาง
    3. ใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิม
    ของนายจ้าง
    1. หลักฐานแสดงกิจการของนายจ้าง เช่น ทะเบียนการค้า/ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ หนังสือรับรองนิติบุคคลบริษัท สัญญาจ้าง สัญญาเช่า สัญญาก่อสร้าง ฯลฯ
    2. สำเนาบัตรประชาชน กรณีนิติบุคคลใช้หนังสือนิติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
    3. ใบมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ (กรณีนายจ้างไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
    2. กรณีแรงงานต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานนอกพื้นที่
    แรงงงานต่างด้าวที่มีหนังสือเดินทาง และมีใบอนุญาตทำงาน สามารถทำงานนอกพื้นที่ได้โดยขอเพิ่มสถานที่ทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
    โดยใช้และเอกสารหลักฐาน ตามลิงค์ https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/0c2a46ab44136d5b9dcd27f441387846.pdf

    หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมที่สามารถดำเนินการได้เลย แนะนำให้ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ หรือโทรสอบถามเจ้าหน้าที่ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694

    in reply to: ต่างด้าวขายของออนไลน์ #358711
    doeqa
    Participant
    358711

    เรียน ครูต้วย

    ขอขอบคุณสำหรับการแจ้งเบาะแส เจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งเรื่องถึงสำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรปราการเพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป

    in reply to: ต่างด้าวขายของออนไลน์ #356019
    doeqa
    Participant
    356019

    เรียนเทพ 350198 กรณีการขายของออนไลน์ การขายของหน้าร้านของแรงงานต่างด้าว เป็นงานห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้างและได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกข้อตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MoU) หากพบเห็นการจ้างคนต่างด้าวทำงานโดยผิดกฎหมาย สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องทุกข์ได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือ ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วน 1694 กรมการจัดหางาน หรือแจ้งเบาะแสโดยตรงที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน โทร. 02 354 1729 หรือสามารถแจ้งรายละเอียดต่างด้าวขายของออนไลน์ดังกล่าวผ่านช่องทางนี้ได้ค่ะ

    in reply to: ต่างด้าวขายของออนไลน์ #337392
    doeqa
    Participant
    337392

    เรียนวาวา

    ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว กำหนดให้คนต่างด้าวทำงานต้องมีใบอนุญาตทำงาน หรือหากมีใบอนุญาตทำงาน แต่ทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และจะต้องถูกส่งกลับประเทศต้นทาง ส่วนนายจ้าง/สถานประกอบการ จะถูกดำเนินคดีข้อหารับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิที่จะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี ค่ะ

    doeqa
    Participant
    314250

    เรียนคุณwan

    เนื่องจากพื้นที่ของท่านอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ หากต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าว สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรปราการ โทร 0 2395 5990-1 หรือแจ้งเบาะแสที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน โทร. 02 354 1729

    doeqa
    Participant
    313026

    เรียน สัจจมาน สุนทรเกตุ

    กระทรวงแรงงานได้เปิดให้มีการนำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ ตาม MoU เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นมา โดยนายจ้าง/สถานประกอบการสามารถยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา) ตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยดำเนินการได้ตลอดทั้งปีตามความจำเป็นในการประกอบกิจการ

    โดยปัจจุบันรัฐบาลได้ประเมินสถานการณ์การระบาดในประเทศ พบว่าเริ่มทรงตัว และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 (ศบค.) มีมติผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2565 จะยกเลิกระบบ Test & Go หากฉีดวัคชีนครบและมีประกันสุขภาพ หรือหากไม่ฉีดวัคซีนแต่มีผลตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใน 72 ชั่วโมง สามารถดำเนินการตามแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU โดยไม่ต้องกักตัว ส่วนผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีนและไม่มีการตรวจหาเชื้อ ให้เข้าระบบกักตัวที่ลดเหลือ 5 วัน

    ทั้งนี้ นายจ้าง/สถานประกอบการ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

    doeqa
    Participant
    270844

    เรียนคุณDB

    ตอบข้อ 1 ตามที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้วค่ะ

    ตอบข้อ 2 แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้ว หากเป็นการลักลอบเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ผ่านการอนุญาตจากด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จะถือว่าเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายไม่สามารถดำเนินการขออนุญาตทำงานได้ ส่วนคนต่างด้าว(กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาในประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยวหากต้องการทำงานต้องเดินทางกลับประเทศเพื่อไปดำเนินการตามขั้นตอน MoU ตามทึ่เคยแจ้งให้ทราบแล้ว

    หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมที่สามารถดำเนินการได้เลย แนะนำให้ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ หรือโทรสอบถามเจ้าหน้าที่ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694

    doeqa
    Participant
    268453

    เรียนคุณ DB. 268181

    ตอบคำถาม ข้อ 1, 2
    นายจ้าง/สถานประกอบการ ที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา เมียนมา ลาว) สามารถดำเนินการตามขั้นตอนนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU โดยมีขั้นตอน ดังนี้
    1.นายจ้างยื่นแบบคำร้องกับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ แบบ นจ.2 หนังสือแต่งตั้ง สัญญาจ้างงาน และเอกสารนายจ้าง
    2.การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยกรมการจัดหางาน/สจจ. สจก. 1-10 มีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง

    3. ประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และจัดทำบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าว (Name List) ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทย และกรมการจัดหางานส่งให้นายจ้าง

    4. นายจ้างที่ได้รับบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name List) แล้วยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    4.1 บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ประเทศต้นทางรับรอง
    4.2 แบบ บต.31 หรือ บต.33 พร้อมเอกสารและหลักฐาน
    4.3 หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อมาก่อนในช่วงไม่เกิน 3 เดือน
    4.4 หนังสือยืนยันการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการกักตัว ได้แก่ ค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจโรคโควิด-19 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษากรณีติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงกรณีป่วยฉุกเฉินหรือโรคอื่นระหว่างกักตัว/กรมธรรม์ที่คุ้มครองการรักษาโรคโควิด -19
    4.5 หลักฐานยืนยันว่ามีสถานที่กักตัวตามที่ราชการกำหนด
    4.6 หลักฐานที่ยืนยันว่ามียานพาหนะเพื่อรับคนต่างด้าวไปยังสถานที่กักตัว
    4.7 กรณีเข้าประกันสังคมซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัย 4 เดือน
    4.8 กรณีเข้าประกันสังคม นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน
    – ชำระค่าคำขอและค่าใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท
    – วางเงินประกัน (กรณีนายจ้างดำเนินการด้วยตนเอง) หลักประกัน 1,000 บาท/คนต่างด้าว 1 คน

    5. กรมการจัดหางานมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทางของคนต่างด้าวเพื่อพิจารณาออกวีซ่า (Non – Immigrant L-A) ให้แก่คนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่อ และหนังสือแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่นายจ้างได้แจ้งไว้ โดยจะอนุญาตให้นำเข้าตามจำนวนสถานที่รองรับในการกักตัว

    6. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรต้องแสดงหนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงาน ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR และ ATK (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง) หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อในช่วงไม่เกิน 3 เดือน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 2 ปี จากนั้นจึงเดินทางไปยังสถานที่กักตัว โดยยานพาหนะที่นายจ้างแจ้งไว้ (ไม่เดินทางร่วมกับบุคคลอื่น และหยุดพัก ณ สถานที่ใดๆ ก่อนถึงสถานที่กักกัน)

    7. คนต่างด้าวต้องเข้ารับตรวจสุขภาพ 6 โรคเป็นขั้นตอนแรก หากพบเป็นโรคต้องห้ามจะส่งกลับประเทศต้นทาง เพราะไม่สามารถอนุญาตให้ทำงานได้ตามกฎหมาย หากไม่พบเป็นโรคต้องห้ามจะเข้าสู่กระบวนการกักตัว และตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธี RT – PCR ดังนี้
    1. คนต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบแล้วเข้ารับการตรวจสุขภาพ 6 โรค หากตรวจผ่าน กักตัวอย่างน้อย 7 วัน และตรวจหาเชื้อโควิด – 19 จำนวน 2 ครั้ง
    2. คนต่างด้าวที่ยังไม่ฉีดวัคซีนหรือฉีดวัคซีนแล้วแต่ยังไม่ครบเข้ารับการตรวจสุขภาพ 6 โรค หากตรวจผ่าน กักตัวอย่างน้อย 14 วัน และตรวจหาเชื้อโควิด – 19 จำนวน 2 ครั้ง โดยกระทรวงแรงงานจะสนับสนุนวัคซีนเพื่อดำเนินการฉีดให้แก่คนต่างด้าว ทั้งนี้ กรณีตรวจพบเชื้อโควิด – 19 ให้เข้ารับการรักษา โดยนายจ้างหรือประกันสุขภาพที่นายจ้างซื้อไว้ให้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา จากนั้นเมื่อตรวจไม่พบเชื้อแล้ว จึงฉีดวัคซีนให้แก่คนต่างด้าว และให้นายจ้างรับคนต่างด้าวไปยังสถานประกอบการ

    8. คนต่างด้าวรับการอบรมผ่านระบบ Video Conference ณ สถานประกอบการ เมื่อผ่านการอบรมแล้ว คนต่างด้าวรับใบอนุญาตทำงาน โดยการอนุญาตให้ทำงานจะเริ่มจากวันที่คนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ให้เดินทางเข้ามาในประเทศ

    ตอบคำถามข้อ 3,4
    นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฯ หากอยู่ในกิจการที่ต้องเข้าประกันสังคม ต้องแจ้งขึ้นทะเบียน การเป็นลูกจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537และเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับหลักฐานเอกสารครบถ้วน ทั้งนี้ จะยกเว้นไม่ขึ้นทะเบียน กรณีเป็นลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย

    เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนและได้จ้างคนต่างด้าวมาทำงานในสถานประกอบการแล้ว หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

    doeqa
    Participant
    253116

    เรียนจริยา

    กรณีคนต่างด้าวที่มีวีซ่าทำงาน และมีใบอนุญาตทำงาน สามารถเดินทางไปทำงานได้ทุกพื้นที่โดยไม่ต้องขออนุญาตเพิ่มเติม แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ละจังหวัดจะมีคําสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน ดังนั้นในการเคลื่อนย้ายแรงงาน นายจ้างสามารถสอบถามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดต้นทางและสำนักงานจัดหางานจังหวัดปลายทาง

    กรณีคนต่างด้าวตามมมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ที่ถือบัตรสีชมพูไม่สามารถเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตทำงาน ถ้าออกนอกเขตพื้นที่ การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นอันสิ้นสุด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

    doeqa
    Participant
    249901

    เรียน ณัฏฐ​พล จันทร์แจ้งใจ

    การไปทำงานต่างประเทศด้วยการแจ้งการเดินทางด้วยตนเองโดยคนหางานติดต่อนายจ้างต่างประเทศด้วยตนเอง นายจ้างต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติ นายจ้างต่างประเทศนำสัญญาจ้างไปติดต่อเพื่อการรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตไทย สถานกงสุลไทย หรือสำนักงานแรงงานในต่างประเทศ คนหางานติดต่อสถานทูตของประเทศที่จะไปทำงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเพื่อขอรับวีซ่าทำงาน หลังจากได้รับวีซ่าทำงานและสัญญาจ้างที่ผ่านการรับรองแล้วให้คนหางานแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตนเองได้ที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1- 10 สามารถดูรายละเอียดตามลิงค์ที่แนบค่ะ https://www.doe.go.th/prd/overseas/custom/param/site/149/cat/40/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/285
    ในส่วนของเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของการไปทำงานเป็นพ่อครัวในประเทศเยอรมันสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย โทรศัพท์ 02 287 9000

    doeqa
    Participant
    249303

    เรียนคุณวันทนา เฉัยบแหลม

    สำหรับการตรวจสุขภาพของแรงงานต่างด้าวบัตรชมพู ในกิจการที่อยู่ในระบบประกันสังคมการตรวจโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. 2563 สามารถตรวจสุขภาพได้ที่โรงพยาบาลตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือสถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลแล้วแต่กรณี ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมสามารถตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลของรัฐพร้อมชื้อประกันสุขภาพ

กำลังดู 15 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 15 (ของทั้งหมด 21)
TOP