เรียนคุณ sirithip
ตามที่ท่านสอบถาม ว่า พนักงานลูกจ้างรายวันกับวันหยุดตามประเพณี/นักขัตฤกษ์ค่ะ
คำถามข้อที่ (1) วันหยุดนักขัตฤษ์/ประเพณี ร้านปิด พนักงานหยุด ไม่ได้ทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงวันนั้นหรือไม่คะ
คำตอบข้อ (1) ต้องดูว่านายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีประจำปีนั้นๆ วันไหนบ้าง ซึ่ง ม. 29 พรบ.คุ้มครองแรงงานให้นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี 13 วัน ซึ่งมีวันบังคับคือวันแรงงานแห่งชาติ และให้เลือกอีก 12 วัน จากวันหยุดราชการประจำปี (วันหยุดพิเศษไม่นับ) จากวันหยุดทางศาสนา และตามขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นครับ และเมื่อนายจ้างประกาศวันดังกล่าวแล้วลูกจ้างต้องได้หยุดและได้รับค่าจ้างตาม ม. 56 (2) ครับ
คำถามข้อที่ (2) ในวันหยุดนักขัตฤกษ์/วันหยุดตามประเพณี ร้านไม่ได้หยุด แต่เจ้านายให้พนักงานหยุดได้ตามสิทธิปกติ เพราะนายจ้างทำงานส่วนนั้นเองได้ แต่ลูกจ้างไม่อยากหยุด ขอมาทำงานในวันนั้นเอง เราต้องจ่ายค่าแรงอย่างไรคะ
คำตอบข้อที่ (2) การทำงานในวันหยุดตามประเพณี นายจ้างต้องเป็นผู้สั่งให้ลูกจ้างมาทำงานและลูกจ้างยินยอมมาทำ และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มอีก 1 แรง (เช่น ค่าจ้าง 331 ทั้งวันนั้นจะได้ค่าจ้างทั้งหมด 331X 2 = 662 บาท) ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามนี้ กรณีลูกจ้างมาเองนายจ้างปฏิเสธไม่ให้ทำงานในวันหยุดได้
คำถามข้อที่ (3) ในวันหยุดนักขัตฤกษ์/ประเพณี หากเราไม่ได้ให้หยุด ขอให้มาช่วยในวันหยุดนั้นเราต้องจ่าย 2 แรงใช่หรือไม่คะ
คำตอบข้อที่ (3) นายจ้างต้องต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีเพิ่มอีก 1 แรง (เช่น ค่าจ้าง 331 ทั้งวันนั้นจะได้ค่าจ้างทั้งหมด 331X 2 = 662 บาท) ตาม ม. 56 (2) และ ม.62 (2) ครับ
คำถามข้อที่ (4) วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี ที่ลูกจ้างรายวันมีสิทธิพึงได้ ตามสิทธินั้น คือวันหยุดที่ราชการกำหนดทุกวันตามปฏิทินเลยใช่ไหมคะ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ วันพ่อแม่ วันหยุดชดเชย ออกพรรษา เข้าพรรษา วิสาข อาสาฬห ฯ จากวันหยุดทางศาสนา และตามขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นครับ
คำตอบข้อที่ (4) ไม่ใช่ครับ นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีประจำปีนั้นๆ วันไหนบ้าง ซึ่ง ม. 29 พรบ.คุ้มครองแรงงานให้นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี 13 วัน ซึ่งมีวันบังคับคือวันแรงงานแห่งชาติ และให้เลือกอีก 12 วัน จากวันหยุดราชการประจำปี (วันหยุดราชการประจำปีตามสำนักนายกประกาศไป 2565มีจำนวน 19 วัน / ทั้งนี้วันหยุดราชการพิเศษไม่สามารถนำมานับเป็นวันหยุดตามประเพณี ม.29 จำนวน 13 วันได้)
(ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
2. สายด่วน 1546
3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน