Skip to main content

เงินชดเชยเกษียนอายุ

หน้าหลัก Forums สวัสดิการแรงงาน เงินชดเชยเกษียนอายุ

Tagged: 

  • This topic has 84 ข้อความตอบกลับ, 2 เสียง, and was last updated 1 year, 11 months ago by  pattamawan.
กำลังดู 15 ข้อความ - 31 ผ่านทาง 45 (ของทั้งหมด 85)
  • Author
    Posts
  • #283934
    labourqa
    Moderator
    283934

    ถึงคุณ @เนตรวรา 283862
    ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
    มาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ฯลฯ
    มาตรา 57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน

    จากกรณีดังกล่าวได้รับสิทธิครับ

    #284259
    เนตรวรา 284259

    สอบถามเรื่องการลากิจ หากพนักงานเริ่มงานกลางปีบริษัทสามารถเฉลี่ยสิทธิลากิจให้กับพนักงานได้หรือไม่ค่ะเช่น เริ่มงาน 1/7/64 สิทธิลากิจได้ 1 วัน 4 ชม.
    ขอบคุณค่ะ

    #284363
    labourqa
    Moderator
    284363

    กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการลากิจไว้ว่าให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน หมายความว่าในหนึ่งปีนายจ้างอาจจัดให้ลูกจ้างมีวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นกี่วันก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นนั้นด้วย
    ทั้งนี้ กรณีที่ลูกจ้างทำงานไม่ครบ 1 ปี หากนายจ้างจะเฉลี่ยวันลากิจให้ลูกจ้าง นายจ้างสามารถเฉลี่ยสิทธิในการลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นให้แก่ลูกจ้างก็ได้

    #291147
    ตุ๋ม 291147

    บริษัทกำหนดเกษียณอายุ 55 ปี การชดเชยเงินเลิกจ้าง
    1.จะมีการต่อสัญญากับพนักงานรายนี้ เราต้องจ่ายเงินชดเชยเลยหรือไม่ หากยังไม่จ่าย การคำนวณฐานเงินได้ต้องเอาปีสุดท้ายหรือตอน 55ปี
    2.หากต้องจ่าย 55ปี พนักงานแจ้งความประสงค์ยังไม่รับเงินชดเชย สามารถระบุในสัญญาจ้างที่ทำใหม่หรือไม่ เป็นจำนวนเงินที่ต้องได้ตอน 55ปี

    #291435
    labourqa
    Moderator
    291435

    เรียนคุณตุ๋ม 291147

    1. การครบกำหนดการเกษียณอายุ หากบริษัทกำหนดไว้อย่างไรหรือนายจ้างลูกจ้างตกลงกันไว้อย่างไร ต้องเป็นไปตามที่กำหนดหรือตกลงกันไว้ ซึ่งเมื่อถึงกำหนดนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามที่กำหนดในมาตรา 118 พรบ. คุ้มครองแรงงานก่อนแล้วจึงจ้างกันใหม่ (ต่อสัญญา) โดยค่าชดเชยจะคำนวณจากฐานเงินเดือนสุดท้ายที่ใช้สิทธิเกษียณอายุ (ฐานเงินเดือนตอนอายุ 55 ปีที่ใช้สิทธิเกษียณ)
    2. เจ้าหน้าที่ไม่แนะนำให้ลูกจ้างปฏิเสธการรับเงินชดเชยเมื่อถึงกำหนดเกษียณอายุ เนื่องจากข้อตกลงมีการตกลงชัดเจนเรื่องการเกษียณอายุ เมื่อถึงกำหนดหรือครบกำหนดควรจะต้องเป็นไปตามที่ตกลงกัน ส่วนจะจ้างใหม่หรือไม่ก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันใหม่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

    #292073
    เอก 292073

    เรียนถามดังนี้ครับ
    ในกรณีที่มีการเซ็นสัญญาจ้างงานเดิมที่กำหนดการเกษียณอายุการทำงานไว้ที่ 55 ปี ต่อมาบริษัทฯมีประกาศให้มีการเกษียณอายุใหม่เป็น 60 ปี
    ในกรณี ที่เราอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้วไม่ต้องต้องการที่จะทำงานต่อต้องการที่จะที่จะเกษียณอายุการทำงาน ที่ 55 ปีตามสัญญาจ้างงานเดิมและให้บริษัทฯจ่ายเงินค่าชดเชยโดยไม่ต้องทำงานต่อไปจนถึง
    60 ปี ได้หรือไม่ครับ

    #292712
    labourqa
    Moderator
    292712

    เรียน คุณเอก 292073

    เนื่องจากกรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ซึ่งไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ยินยอมก็สามารถยืนยันสภาพการจ้างเดิมได้
    หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2

    #293458
    sAll 293458

    ขอสอบถามค่ะ กรณีเคยทำงานมา5ปีแล้วลาออกไปทำงานที่อื่นจากนั้นกลับมาทำงานต่อ16ปีแล้วเกษียณ อยากทราบว่าจะได้เงินชดเชยจากการเกษียณอายุกี่วันค่ะ จะนับการทำงานเป็น21ปีหรือ16ปีค่ะ

    #293945
    นันทกา 293945

    สอบถามเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายเงินเมื่อพนักงาน
    ครบกำหนดการเกษียณอายุ จะต้องจ่ายเงิน
    ให้กับพนักงานภายในกี่วันคะ

    #294186
    labourqa
    Moderator
    294186

    เรียนคุณ นันทกา
    หากกรณีเงินที่ผู้สอบถามหมายถึงเงินชดเชยนายจ้างต้องจ่ายทันทีหลังจากวันสิ้นสภาพการทำงานหรือหลังวันครบกำหนดเกษียนอายุการทำงาน ค่ะ

    รายละเอียดเบอร์โทรศัพท์และที่ตั้งสำนักงาน เพื่อติดต่อ พนักงานตรวจแรงงาน มีดังนี้ค่ะ
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2
    หรือ ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/
    ท่านสามารถศึกษาขั้นตอนตามวิดีโอนี้

    #294210
    labourqa
    Moderator
    294210

    เรียนคุณ นันทกา
    หากกรณีเงินที่ผู้สอบถามหมายถึงเงินชดเชยนายจ้างต้องจ่ายทันทีหลังจากวันสิ้นสภาพการทำงานหรือหลังวันครบกำหนดเกษียนอายุการทำงานค่ะ

    ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมให้ติดต่อสอบถามพนักงานตรวจแรงงาน โดยท่านสามารถติดต่อกรมได้หลายช่องทางครับ 1. สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 2. สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 3. ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th) เมนู ติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 4. ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/

    #294525
    วัช 294525

    รบกวนสอบถามค่ะ ถ้าเราสอนโรงเรียนเอกชน มาจนอายุครบ 60 ปี แล้ว นอกจากเงินสะสม 3% ของตนเองแล้ว แล้วเรามีสิทธิ รับเงินชดเชยเกษียนอายุไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

    #294645
    labourqa
    Moderator
    294645

    จากกรณีคำถามของท่าน…ขออธิบายในทางกฎหมายแรงงานตาม “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” มาตรา 17 วรรคหนึ่ง “สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ” กล่าวคือ เมื่อครบกำหนดเวลาสัญญาจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องเตือนหรือบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างย่อมรู้อยู่แล้วว่าสัญญาจ้างของตนมีกำหนดระยะเวลานานเท่าใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อใด อนุมานว่าสัญญาจ้างของท่าน ซึ่งท่านได้ทำการสอนในโรงเรียนเอกชนแล้วจะสิ้นสุดการจ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี นั้น ในทางกฎหมายได้ให้สิทธิในการรับเงินชดเชยการเกษียณเช่นเดียวกับการเลิกจ้าง กรณีที่ 1 ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชยเกษียณอายุ ตาม “มาตรา 118/1 การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลง หรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินหกสิบปีให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไป มีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผล เมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง”
    กรณีที่ 2 สิทธิประโยชน์หลังเกษียณประกันสังคม ของสำนักงานประกันสังคม จะมอบสิทธิขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยส่งเงินสมทบเข้ากองทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นเงินออมหลังเกษียณ หรือที่เราเรียกกันว่า เงินบำเหน็จ และ เงินบำนาญชราภาพ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันสังคมติดต่อสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่เขตที่ทำงานอยุ่ หรือสำนักงานใหญ๋นนทบุรี เบอร์สายด่วน 1506 โทรได้ตลอดเวลาไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยมีเงื่อนไขเบื้องต้นดังนี้
    เงินบำเหน็จชราภาพ คือ เงินที่จะได้รับเป็นเงินก้อนใหญ่เพียงแค่ครั้งเดียวเมื่อผู้ประกันตนเกษียณอายุ
    เงื่อนไขการรับเงินบำเหน็จชราภาพ
    1.จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี
    2. สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
    3. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย
    เงินบำนาญชราภาพ คือ เงินที่จะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
    เงื่อนไขการรับเงินบำนาญชราภาพ
    – จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
    – มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
    – ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
    รบกวนเพื่อความชัดเจนในส่วนของข้อมูลและรายละเอียดรบกวนลูกจ้างประสานไปให้ข้อมูลที่ละเอียดและมีความชัดเจนครบถ้วนกับหน่วยงานที่แจ้งไว้ จะได้อำนวยความสะดวกกับลูกจ้างได้มากยิ่งขึ้นคะ

    #295538
    ประภัสสร์ 295538

    รบกวนสอบถามครับว่า ผมทำงานกับบริษัทที่มีสภาพการจ้างงานในสัญญาทุกๆ 3ปี ผมทำงานมา 20ปี ถ้าเกิดครบ 3ปีในสัญญาล่าสุดนี้แล้วถ้าบริษัทไม่ต่อสัญญาใหม่ให้ผม ถือว่าเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ครับ และผมยังคงจะได้รับเงินชดเชยเกษียนอายุ 400วัน ตาม กม.หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ

    #296046
    labourqa
    Moderator
    296046

    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้… (6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย” และมาตรา 118 วรรคสอง กำหนดว่า “การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป” ดังนั้น การไม่ต่อสัญญาจึงถือเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในมาตรานี้ด้วย

กำลังดู 15 ข้อความ - 31 ผ่านทาง 45 (ของทั้งหมด 85)
  • You must be logged in to reply to this topic.
TOP