Skip to main content

กรณีสลับวันทำงาน

หน้าหลัก Forums กระทู้ถาม กรณีสลับวันทำงาน

Tagged: 

  • This topic has 24 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 1 year, 5 months ago by  AA.
กำลังดู 15 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 15 (ของทั้งหมด 25)
  • Author
    Posts
  • #229395
    Namfon 229395

    อยากทราบปัญหา บริษัทออกคำสั่งให้พนักงานหยุดงานโดยที่ให้สลับหยุดวันทำงาน แล้วให้มาทำงานวันหยุดทดแทน โดยให้เหตุผลว่า พาสที่ใช้ในการผลิตไม่เข้า แบบนี้คือเป็นปัญหาของบริษัทหรือเปล่าค่ะ

    #229633
    labourqa
    Moderator
    229633

    กรณีสลับวันทำงานและวันหยุด โดยไม่เป็นไปตามสถาพการจ้างและการทำงานเดิมของลูกจ้าง เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างการทำงาน ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน กรณีดังกล่าวนายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนได้โดยพลการ แนะนำให้ติดต่อยื่นคำร้องเรียนได้ที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ที่ช่องทาง
    1) สายด่วน 1546
    2) สายด่วน 1506 กด 3 หรือ
    3) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพ ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์จากเว็ปไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน http://www.labour.go.th (เมนู ติดต่อกรม) เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ หรือยื่นคำร้องผ่านระบบออนไลน์ ที่ http://s90.labour.go.th/e_request/login.php

    #229681
    Namfon 229681

    ขอบคุณค่ะที่ให้คำแนะ โรงงานนี้เป็นบ่อยมาก ยอมครั้งนึงก็ต้องยอมไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเราเองที่จะไม่รอด 🙏

    #279461
    Kate 279461

    บริษัทฝึกอบรมแห่งหนึ่งที่บางมด ไม่มีการจ่ายโอทีแม้ทำงานเกินเวลา การสั่งให้มาทำงานในวันหยุดคือ การเก็บวันทำงานเพื่อเอาไว้หักลา เช่น ลาป่วยเข้ารักษาโรงพยาบาลแพทย์สั่งหยุด 3 วัน กลับเข้าทำงานพร้อมยื่นลาป่วย+ใบรับรองแพทย์กลับเอาวันทำงานที่ทำไว้เกินมาหักล้าง ซึ่งเท่ากับว่า บริษัทนี้อาจจะไม่มีผู้ที่สามารถลาป่วยได้ใช่หรือไม่คะ

    #279522
    labourqa
    Moderator
    279522

    เรียน คุณ Kate 279461 กรณีนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาตามพ.ร.บ. คุ้มครงแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้แก่ลูกจ้าง
    กรณีลูกจ้างลาป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน หรือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้เป็นคุณมากกว่ากฎหมาย
    หากนายจ้างไม่ได้จ้างค่าล่วงเวลา หรือค่าจ้างในวันลาป่วย ถือว่านายจ้างยังคงค้างจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าจ้างนั้น

    มีหากข้อสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน 1506 กด 3 , สายด่วน 1546 , โทรศัพท์ 02-660-2092
    กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
    ขอบคุณค่ะ

    #281374
    Bowing 281374

    ในกรณีที่บริษัทให้ทำงานเกินเวลาเพื่อจะเอาไปหยุดในวันเสาร์ แบบนี้ได้ไหมคะ แล้วถ้าบริษัทยกเลิกไม่ให้หยุดวันเสาร์แล้ว เวลาทำงานต้องกลับไปเป็นไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวันด้วยใช่ไหมคะ

    #281931
    labourqa
    Moderator
    281931

    เรียน Bowing 281374 กรณีบริษัทให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา บริษัทมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาดังกล่าว
    จากกรณีคำถาม รบกวนติดต่อที่ 02-660-2092 เพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
    กองนิติการ การและคุ้มครองแรงงานค่ะ ขอบคุณค่ะ

    #282279
    jibjib 282279

    กรณีช่วงโควิด ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างสลับวันกันเข้ามาทำงาน จะต้องขอความยินยอมลูกจ้างมั้ยคะ

    #282303
    labourqa
    Moderator
    282303

    เรียน คุณ jibjib 282279 ตามที่ท่านสอบถามมาหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและการทำงาน เช่นปกติทำงาน จันทร์ ถึง วันเสาร์ เปลี่ยนเป็น จันทร์ พุธ ศุกร์ ประมาณนี้ใช่ไหมครับ ถ้าใช่เป้นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต้องให้ลูกจ้างยินยอมครับ ทั้งนี้จะกระทบต่อค่าจ้างที่ได้รับของลูกจ้างด้วยต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกรณีดังกล่าวควรโทรศัพท์ปรึกษากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานครับ สาวยด่วน 1506 กด 3 และ 1546 หรือสำนัหงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดใกล้บ้านท่าน หรือกรุงเทพพื้นที่ 1-10 ครับ

    #283376
    labourqa 283376

    test

    #287291
    พรทิพย์ 287291

    สอบถามค่ะ
    กรณี บริษัทเป็นการผลิต และต้องการสลับวันหยุด เนื่องจากเพื่อให้การเปิดเครื่องจักร เปิดได้ยาวๆ ตลอดสัปดาห์ และให้เหตุผลเรื่องการประหยัดพลังงาน
    บริษัทจึงขอสลับวันหยุด แบบนี้ ถือว่า ถูกต้องมั้ยคะ

    #287830
    labourqa
    Moderator
    287830

    การที่นายจ้างต้องการสลับวันหยุดไม่ว่าจะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดตามประเพณี เพื่อต้องการให้เปิดการผลิตได้ตลอดสัปดาห์ จึงเป็นกรณีที่นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากเป็นคุณกับลูกจ้างนายจ้างสามารถเำเนินการได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง แต่หากการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะกระทำได้เมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากนายจ้างดำเนินการโดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม การเปลี่ยนเปลี่ยนสภาพการจ้างนั้นย่อมไม่มีผูกพันลูกจ้าง

    #288890
    Pichest 288890

    สอบถามหน่อยครับ
    กรณีบริษัทแห่งหนึ่งมีคำสั่งสลับวันหยุดนักขัตฤกษ์ เช่น วันที่ 11(วันธรรมดา) สลับกับวันที่ 16 (วันหยุดนักขัตฤกษ์) โดยอ้างว่า “ตู้สินค้าเราเข้าไม่ทันเลยผลิตไม่ได้ จึงต้องมีการสลับวันหยุด” ซึ่งก็ได้สลับกัน คือ หยุดในวันที่ 11 มีการจ่ายเงินวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามปกติ
    แต่เมื่อพอถึงวันที่ 16 ซึ่งกลายเป็นวันทำงานปกติกลับมี OT ทางบริษัทตัดสินใจจ่ายค่า OT 1.5 ของค่าแรง
    อยากทราบว่า
    ในกรณีนี้ ทางบริษัทต้องการที่จะเลี่ยงค่า OT 3 เท่าของค่าแรงตามกฎหมายหรือไม่

    #288902
    labourqa
    Moderator
    288902

    เรียน คุณ Pichest 288890
    1.ตามหลักการของกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว ไม่สามารถสลับวันหยุดตามประเพณีได้
    2.ยกเว้น งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลุกจ้างหยุดทำงานในวันหยุดตามประเพณีได้แก่งานดังนี้ ๑) งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาอาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และสถานบริการท่องเที่ยว ๒) งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง และงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน (กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
    3.นายจ้างได้ประกาศให้วันที่ 16 เป็นวันหยุดตามประเพณีหรือไม่ ถ้ามีการประกาศตามมาตรา 29 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ก็ยังถือว่าวันที่ 16 เป็นวันหยุดตามประเพณี และวันที่ 11 ที่นายจ้างสั่งให้หยุดนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างให้

    #288903
    labourqa
    Moderator
    288903

    เรียน คุณ Pichest 288890

    หากท่านต้องการรับคำปรึกษา/สอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในพื้นที่ของท่าน
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2

    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1

    ขอบคุณครับ

กำลังดู 15 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 15 (ของทั้งหมด 25)
  • The forum ‘กระทู้ถาม’ is closed to new topics and replies.
TOP