Skip to main content

ในสัญญาจ้างงานบอกว่าจะหักเงินประกันจากเงินเดือน+ผู้ค้ำถ้าเราลาออกค่ะ

หน้าหลัก Forums กระทู้ถาม ในสัญญาจ้างงานบอกว่าจะหักเงินประกันจากเงินเดือน+ผู้ค้ำถ้าเราลาออกค่ะ

กำลังดู 2 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 2 (ของทั้งหมด 2)
  • Author
    Posts
  • #251213
    ว่านไฉ 251213

    สวัสดีค่ะ
    เรากำลังจะไปเซ็นสัญญาจ้างงานในตำแหน่งการตลาดแต่ในนั้นมีเอกสารที่มีข้อสงสัยว่าสามารถทำได้ด้วยหรือเพราะไม่เคยเห็นข้อตกลงแบบนี้มาก่อนค่ะ

    ในเอกสาร”ข้อตกลงยินยอมของพนักงาน”ระบุไว้ว่า
    “….1.หากขอลาออก ต้องยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า30วัน (ข้อนี้เราไม่สงสัยค่ะ)
    2.หากไม่ปฏิบัติตามข้อ1 โดย – ละทิ้งงานโดยไม่ยื่นใบลาออก จนบริษัทออกหนังสือเลิกจ้าง
    – ยื่นใบลาออกแล้ว แต่ทำงานต่อไม่ครบ30วันนับจากวันที่ยื่น
    3.พนักงานยินยอมให้บริษัทคิดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า20%ของเงินเดือนเริ่มจ้าง โดยผ่อนชำระ4งวด งวดละ5% เพื่อเป็นประกันการทำงานตามข้อ1และ2
    3.1 หากลาออกโดยดำเนินการถูกต้องตามข้อ1 บริษัทจะคืนเงินประกันที่หักไว้ให้ คืนในงวดถัดไปนับจากงวดสุดท้ายที่มาทำงาน
    3.2 หากลาออกโดยไม่ดำเนินการตามข้อ1 โดยปฏิบัติตามข้อ2 พนักงานยินยอมให้บริษัทริบเงินประกันที่หักไว้ล่วงหน้ารวมทั้งผลตอบแทนทั้งหมด ให้ถือเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานของพนักงาน โดยพนักงานต้องไม่ติดใจเรียกร้องเงินคืน หรือยกข้อต่อสู้ใดๆมากล่าวอ้างทั้งสิ้น
    4. ยกเว้น กรณีพนักงานส่งมอบงานแล้วและบริษัทยินยอมให้ออกก่อน30วัน….”

    อยากสอบถามว่ามันแปลกไหมคะที่มีการหักเงินประกันเราทั้งที่เราไม่ได้ทำงานจับเงินหรือของมีค่าเลย

    ยังมีสัญญาของผู้ค้ำประกันที่แนบมากับเอกสารชุดนี้ด้วยค่ะ รายละเอียดทั้งหมดดูโอเค แต่สงสัยว่าจำเป็นมากเพียงใดที่ต้องมีผู้ค้ำประกัน แล้วในเอกสารนั้นยังระบุไว้ด้วยว่า
    “…..ผู้ค้ำประกันยินดีรับผิดชอบความเสียหาย โดยความเสียหายหมายรวมถึงกรณีต่อไปนี้
    – ผู้ถูกค้ำลาออกจากบริษัทกะทันหันโดยไม่แจ้งให้ทราบก่อน30วัน ผู้ค้ำประกันรับผิดจำนวนไม่เกิน60เท่าของค่าจ้างเฉลี่ยรายวันที่ลูกจ้างได้รับ…..”

    ในส่วนนี้เราอยากสอบถามว่าแค่ลาออกโดยไม่แจ้ง ผู้ค้ำต้องจ่าย60เท่าเชียวหรือคะ ไม่เคยได้ยินข้อนี้มาก่อน

    ย้ำอีกครั้งว่าเราทำงานตำแหน่งการตลาดค่ะ ท่านใดมีคำแนะนำรบกวนด้วยนะคะ

    ขอบคุณค่ะ

    #251215
    labourqa
    Moderator
    251215

    กฎหมายที่กำหนดลักษณะงานที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันในการทำงาน ได้แก่ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 หากการทำงานไม่อยู่ในลักษณะที่กฎหมายกำหนด นายจ้างไม่สามารถเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ทรัพย์สิน หรือการค้ำประกันด้วยตัวบุคคล
    และมาตรา 14/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หากทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง หรือข้อบังคับ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้บังคับเพียงที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี

กำลังดู 2 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 2 (ของทั้งหมด 2)
  • The forum ‘กระทู้ถาม’ is closed to new topics and replies.
TOP