วันที่ 18 กันยายน 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานว่า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง หรือ บอร์ดค่าจ้าง ซึ่งเป็นระบบไตรภาคี ประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา โดยมีปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 54 สาขา ใน 3 ระดับฝีมือ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประกาศไปแล้ว 129 สาขาอาชีพ อาทิ ช่างเย็บผ้า ระดับ 1 จากเดิมวันละ 345 บาท เป็น 370 บาท ช่างปูกระเบื้องต้นและพื้น ระดับ 1 จาก 450 บาท เป็น 485 บาท ช่างไฟฟ้าอาคาร ระดับ 1 จาก 440 บาท เป็น 470 บาท ช่างซ่อมเครื่องยนต์ จาก 400 บาท เป็น 430 บาท เป็นต้น
นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า สาระสำคัญของการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในครั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้แรงงานกึ่งฝีมือหรือแรงงานมีฝีมือที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีโอกาสได้รับการปรับเพิ่มค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ มีเงินใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นแรงกระตุ้นให้แรงงานได้มีการพัฒนาฝีมือและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 – 22 ได้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไปแล้ว 129 สาขา สำหรับมาตรฐานฝีมือแรงงานนั้น เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และมีเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้ใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
“เป้าหมายสำคัญที่ทางกระทรวงแรงงานวางไว้ คือ ต้องการให้พี่น้องแรงงานได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน Up Skill / Re Skill ให้มีทักษะฝีมือแรงงานชั้นสูงและมีมาตรฐานฝีมือ แรงงานที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือตามสาขาจะได้รับการจ้างงานและได้ค่าจ้างที่เหมาะสมกับทักษะฝีมือ ซึ่งสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นไปตามกลไกการจ่ายค่าจ้างตามความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ส่วนนายจ้างและสถานประกอบกิจการเองก็จะได้แรงงานที่การันตีทักษะฝีมือ สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงานอีกด้วย” นายพิพัฒน์ กล่าวท้ายสุด
ทั้งนี้ นักศึกษาจบใหม่ ลูกจ้างที่ต้องการค่าจ้างที่สูงขึ้นตามมาตรฐานฝีมือ สามารถเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยติดต่อได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ โทร.สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติไม่ว่าก่อน หรือหลังที่มีการออกประกาศและมีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็วและเมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้าง โดยอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานจะมีผลใช้บังคับ 90 วัน หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
On September 18, 2023, the Labour Minister, Mr. Phiphat Ratchakitprakarn, spoke about determining wage rates according to labour skill standards. He said that on September 13, the Wage Committee or Wage Board met, a tripartite system consisting of representatives of employers, employees, and the government, with the Permanent Secretary of Labour as chairman. The meeting approved an increase in the wage rate following the skill standards of 54 fields in 3 skill levels. It had previously been announced for 129 occupational fields, such as seamstress level 1 from 345 to 370 Baht per day, basic tiling and flooring technician level 1 from 450 to 485 Baht, building electrician level 1 from 440 to 470 Baht, and engine repair technician from 400 to 430 Baht.
Mr. Phiphat continued that the essence of determining the wage rate according to skill standards was to adjust the wage rate according to the skill standards, consistent with the current economic conditions. This will allow semi-skilled or skilled workers who have passed the national skill standard test to receive a salary increase based on their abilities. This would promote more spending and money circulating the economy and act as an incentive for workers to develop their skills and test their skills. Since 2012, the 18th – 22nd Wage Committee has set wage rates according to skill standards for 129 branches. As for skill standards, it is an academic requirement used as a criterion to measure the skill level, knowledge, ability, and working attitude of people working in various fields by the Department of Skill Development. There are different labour skill standards in each field. Those who pass the test will receive a certificate for passing the test from the Department of Skill Development.
“The important goal that the Ministry of Labour has set is for our workforce to develop, upskill, and reskill to have high-class skills and standards. Workers who pass the skill standard assessment in their respective fields will be hired and receive wages appropriate to their skills, higher than the minimum wage. It follows a mechanism for paying wages according to knowledge and ability to perform work tasks. As for employers and business establishments, they will employ workers with guaranteed skills. It is also consistent with knowledge, ability, and employment in the labour market,” Mr. Phiphat concluded.
In this regard, new graduates and employees who want higher wages based on skill standards can take the skill assessment. You can contact the Skill Development Institute and every Skill Development Office nationwide or call the Ministry of Labour’s hotline at 1506, press four for Department of Skill Development. For those who have passed the National Skills Standards Test before or after the announcement is issued and becomes effective, if you wish to exercise your rights, you must submit a certificate of having passed the skill standard assessment in that occupational field and level to the employer quickly. Once the employer has received the certificate, they shall pay employees wages according to the rates in this announcement. The wage rate, according to labour skill standards, will be effective 90 days after the date of publication in the Royal Gazette.
——————————
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/Division of Public Relations