Skip to main content

สรุปการเยือนสาธารณรัฐเกาหลีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล) วันที่ 7 – 11 กุมภาพันธ์ 2560

รายละเอียดเนื้อหา

ตามที่ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะได้ไปประชุมระดับรัฐมนตรี และในระดับอธิบดี ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการจ้างงานและแรงงานเกาหลี เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ สาธารณรัฐเกาหลี

ตามที่ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะได้ไปประชุมระดับรัฐมนตรี และในระดับอธิบดี ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการจ้างงานและแรงงานเกาหลี เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ สาธารณรัฐเกาหลี

โดย รมว.แรงงาน และคณะได้หารือร่วมกันระดับรัฐมนตรีในการพัฒนาปรับปรุงการจัดส่งแรงงานภายใต้ระบบ EPS เพื่อรักษาตลาดแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งได้ข้อสรุปว่า

1. ด้านความร่วมมือการจัดส่งแรงงานไทยทำงานในเกาหลี ภายใต้ระบบ EPS ฝ่ายไทยได้ขอเพิ่มโควตาการจ้างแรงงานไทยเพื่อจูงใจให้แรงงานไทยเดินทางไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีอย่างถูกต้องตาม กฎหมาย เพิ่มมากขึ้น

2. ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องเกี่ยวกับความร่วมมือด้านความปลอดภัยในการทำงานที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ทางด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง

3. เกาหลีพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการพัฒนาสู่ Thailand 4.0 รวมทั้งจะให้การสนับสนุนการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติของไทย เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นแรงงานที่มีผลิตภาพสูง ตลอดจนการอบรมภาษาให้กับแรงงานไทยในระบบ EPS อีกด้วย 

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐเกาหลี คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ยังได้ตรวจเยี่ยมสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน KOSHA ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานและการจ้างงานสาธารณรัฐเกาหลี โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยกับ KOSHA โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ความร่วมมือในการพัฒนาศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ความปลอดภัยในการทำงาน เฉลิมพระเกียรติฯ โดยเฉพาะในด้านรูปแบบนิทรรศการ ชุดการเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่นำเสนอ

2. แนวทางการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยฯ รองรับอนุสัญญา ILO และยุทธศาสตร์โลกด้านความปลอดภัยฯ ที่มุ่งสร้างเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) ซึ่ง KOSHA มี ประสบการณ์ และให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

3. การพัฒนางานความปลอดภัยฯ ของประเทศไทย ภายใต้โครงการ Safety Thailand ที่จะมีการมุ่งเน้นสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรด้านความปลอดภัยฯ โดยจะมีการสนับสนุนทุนหรือผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งจัดฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน KOSHA ในอนาคต

TOP