Skip to main content

หน้าที่ของนายจ้าง

หน้าที่ของนายจ้าง แยกพิจารณาได้ 3 ประการ

 

          1. หน้าที่ ตามสัญญาจ้างแรงงาน จ่ายสินจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ (หากไม่ทำไม่ต้องจ่าย) ยกเว้นมีกฎหมายกำหนดให้จ่าย เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันหยุดตามประเพณี ป่วยเท่าที่ป่วยจริงแต่ไม่เกิน30วัน ลาทำหมันโดยมีใบรับรอง ลาคลอดบุตรได้90วันแต่จ่ายไม่เกิน 45 วัน ถูกเรียกพลฝึกวิชาทหารจ่ายไม่เกิน 60 วัน ลูกจ้างเด็กลาฝึกอบรม จ่ายไม่เกิน 30 วัน หากนายจ้างไม่มีงานให้ลูกจ้างทำ เช่นนายจ้างไม่ได้รับอนุญาต ยังต้องจ่ายจนกว่าจะบอกเลิกสัญญา ม พรบ.คุ้มครองแรงงาน หากนายจ้างจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือชั่วคราวโดยมิใช่เหตุสุดวิสัย ต้องจ่ายเงินแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ50ของค่าจ้างในวันทำงาน

 

          2. หน้าที่ อื่นๆ ส่งมอบงานให้ลูกจ้าง ดูแลความปลอดภัย ให้สวัสดิการในการทำงาน หน้าที่ตามหลักกฎหมายละเมิด และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปฏิบัติอย่างเสมอภาค จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน และกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีลูกจ้าง 40 คนขึ้นไป ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างต่อบุคคภายนอก สำหรับการทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง ออกใบสำคัญแสดงการทำงานของลูกจ้างเมื่อสัญญาสิ้นสุด ออกค่าเดินทางขากลับ จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง ค่าชดเชยพิเศษกรณีตามกฎหมาย และมีหน้าที่ตามกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายประกันสังคม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน และวุฒิสภา

 

          3. การ บังคับกรณีที่นายจ้างผิดหน้าที่ ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ต้องรับผิดดอกเบี้ย และอาจต้องรับผิดในเงินเพิ่มตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และลูกจ้างสามารถกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้นายจ้างชำระหนี้ หากไม่ชำระ ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาได้ กรณีผิดหน้าที่ถือว่าชำระหนี้ไม่ต้องตามประสงค์เช่น ไม่ให้สวัสดิการตามตกลง เรียกค่าเสียหายได้ 

53442
TOP