Skip to main content

แท้งจากโควิดเพราะไปทำงาน

หน้าหลัก Forums กระทู้ถาม แท้งจากโควิดเพราะไปทำงาน

กำลังดู 2 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 2 (ของทั้งหมด 2)
  • Author
    Posts
  • #233532
    Chanon_M 233532

    จากประกาศพรก.ฉุกเฉินที่มีการขอความร่วมมือจาก ศบค. ให้มีการ WFH ในกรณีที่ท้อง 8 เดือน แต่บ.ไม่ได้ให้ WFH ให้ทำงานปกติ แล้วติดโควิทจากการไปทำงานแล้วแท้งลูก นายจ้างมีความผิดหรือไม่

    #233609
    labourqa
    Moderator
    233609

    เนื่องจากประกาศของ ศบค.เป็นการขอความร่วมมือสถานประกอบการให้จัดรูปแบบการทำงานแบบ WHF เพื่อลดความเสี่ยงในการอยู่รวมกันจำนวนมาก และลดการเดินทาง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด หากนายจ้างไม่ให้ความร่วมมือยังคงเปิดทำงานตามปกติแต่มีมาตราการการป้องกันโรคระบาดด้วยวิธีอื่นอย่างดีและมีประสิทธิภาพตามมาตรการที่รัฐกำหนดและนายจ้างยังคงให้ลูกจ้างมาทำงานตามปกติ นายจ้างก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน แต่หากนายจ้างไม่มีมาตรการตามที่รัฐกำหนดและมีลูกจ้างติดเชื้อโควิดในสถานประกอบกิจการและมีความเสี่ยงจะแพร่เชื้อไปในโรงงาน แต่นายจ้างไม่ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคทราบและไม่มีมาตราการตามที่ ศบค.กำหนด นายจ้างอาจจะมีความผิดตาม พรบ.ควบคุมโรค และพรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และหากสถานประกอบการของนายจ้างมีการแพร่ระบาดและการติดเชื้อของลูกจ้างจำนวนมากและนายจ้างไม่มีมาตรการป้องกันโรคที่ดีจึงทำให้สถานประกอบการของนายจ้างเป็นที่แพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด และลูกจ้างหากไปทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจะทำให้ติดเชื้อไวรัสโควิดและเป็นอันตรายต่อลูกจ้างอย่างแน่นอน ลูกจ้างก็สามารถปฏิเสธที่จะเข้าไปทำงานในสถานที่ที่เป็นการแพร่ของโรคไวรัสโควิดที่เป็นอันตรายได้ ส่วนกรณีของผู้ถาม ถามว่าถ้าหากตั้งครรภ์แปดเดือนแล้ว นายจ้างไม่ให้ทำงานแบบ WHF และให้ไปทำงานปกติจนเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับการติดเชื้อโควิด 19 จากที่ทำงานของนายจ้างที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิดจำนวนมากและนายจ้างไม่มีมาตรการป้องกันที่ดี หรือไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคเข้ามาดำเนินการกักกันโรค จนเป็นสาเหตุให้ลูกจ้างแท้งบุตรจากการติดเชื้อโควิดจากที่ทำงานของนายจ้าง และหากลูกจ้างมีข้อเท็จจริงหรือสามารถพิสูจน์ได้ว่าการแท้งบุตรเป็นสาเหตุโดยครงที่เกิดจากการทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างจะใช้สิทธิทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างก็เป็นสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมาย แต่ตามพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กฎหมายให้ความคุ้มครองหญิงตั้งครรภ์ โดยห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ทำงานที่เป็นงานอันตราย เช่น งานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรที่มีความสั่นสะเทือน งานแบกหาบหาม ฯลฯ และห้ามให้หญิงตั้งครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00-06.00 น. ห้ามทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด ห้ามเลิกจ้างหญิ่งเพราะเหตุตั้งครรภ์ และให้ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน และมีสทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานหรือจัดงานที่เหมาะสมให้ตามที่แพทย์รับรองได้

กำลังดู 2 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 2 (ของทั้งหมด 2)
  • The forum ‘กระทู้ถาม’ is closed to new topics and replies.
TOP