Skip to main content

คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือโครงการ Factory Sandbox จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเยี่ยมผู้ทุพพลภาพ

รายละเอียดเนื้อหา

วันที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 09.00น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางสาวอำพันธ์ ธุววิทย์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “Factory Sandbox” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ บริษัท ฟูจิคุระ อิเล็คทรอนิกส์(ประเทศไทย)สวนอุตสาหกรรมโรจนะ อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายศักดิ์นาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางเบญจวรรณ รัตนภาค ประกันสังคมจังหวัด นางสาวรัตนา ทองกลับ แรงงานจังหวัด นายชัยวัฒน์ อางคาสัย สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด นายธนภูมิ ชัยฤกษ์ จัดหางานจังหวัด ผู้แทนสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 15 พระนครศรีอยุธยา นายสมลักษ์ ยกน้อยวงษ์ นายอำเภออุทัย สาธารณสุขอำเภอ ประธาน บริษัทฟูจิคุระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) และคณะผู้บริหารเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ จัดขึ้น 3 ฝ่าย ประกอบด้วย Mr.tetsuya sakamoto กรรมการบริหาร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟูจิคุระ อิเล็คทรอนิกส์(ประเทศไทย) นางเบญจวรรณ รัตนภาค ประกันสังคมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ นายแพทย์กฤษดา ทิพย์รัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอเซียอินเตอร์เนชั่นแนล ได้ร่วมกันลงนาม

หลังจากนั้น คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ได้ลงพื้นที่ไปเยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพในพื้นที่ตำบลคานหาม อำเภออุทัย รวม 2 ราย เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นและให้กำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
 
สำหรับโครงการ Factory Sandb๐x เป็นแนวคิดในการจัดการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” ที่มุ่งเป้าดำเนินการควบคู่กันระหว่างสาธารณสุข และเศรษฐกิจ ซึ่งหัวใจหลักสำคัญคือตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล เพื่อให้การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการจัดหาวัคซีนให้กลุ่มแรงงานอย่างทั่วถึงเอกชนร่วมสนับสนุนและแบ่งเบาภาระของภาครัฐในการดูแลพนักงานของตน ตามมาตรการทางสาธารณสุข รวมถึงมีการเชื่อมโยงกับสถานพยาบาลที่มีความพร้อมสำหรับการควบคุม และดูแลลูกจ้างในสถานประกอบการ เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในโรงงาน (คลัสเตอร์โรงงาน) ให้ลูกจ้างมีสุขอนามัยที่ดีพร้อมที่จะปฏิบัติงาน เมื่อโรงงานสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เกิดความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการส่งออกสินค้า ตลอดจนสามารถรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมส่งออกไว้ได้อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

TOP