Skip to main content

ก.แรงงาน ตะลุยเชียงใหม่ จัดโรดโชว์ประชาสัมพันธ์ มุ่งสร้างการรับรู้ คุ้มครองสิทธิ – สวัสดิการแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียม MOL Launches Roadshow in Chiang Mai to Spread Awareness on Equal Welfare and Benefits for Foreign Workers

รายละเอียดเนื้อหา

          วันที่ 2 มีนาคม 2566 นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ (Road Show) ของกระทรวงแรงงาน ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวของกระทรวงแรงงานและรัฐบาล เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องสิทธิของแรงงานต่างด้าว ภายใต้กรอบแนวคิด “แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม” เพื่อส่งเสริมให้นายจ้างสถานประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย โดยมี นายเอกลักษณ์ อุ่นภักดิ์ จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ และลูกจ้างแรงงานต่างด้าว ร่วมให้การต้อนรับ ณ ศูนย์พิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร อนุญาตให้ทำงาน และออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) เลขที่ 138 หมู่ที่ 4 ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
          นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน โดยท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประชาชนชาวไทย ซึ่งวันนี้ในส่วนของกระทรวงแรงงาน โดยกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ได้นำกิจกรรม นิทรรศการมาออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวของกระทรวงแรงงานและรัฐบาล เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องสิทธิของแรงงานต่างด้าว ภายใต้กรอบแนวคิด “แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม” โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ไปสู่นายจ้าง สถานประกอบกิจการที่จ้างแรงงานต่างด้านในพื้นที่ รวมทั้งกำชับให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกัน และคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย เช่น อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การรักษาพยาบาล การได้รับสวัสดิการจากสถานประกอบการ อย่างเป็นธรรม เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดลำดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
          นายเดชา กล่าวต่อว่า สำหรับการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบการจัดกิจกรรมในสถานประกอบกิจการครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในสิทธิความเท่าเทียมระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่จะให้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของประเทศไทย รวมถึงเป็นการแสดงออกของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลในการมุ่งมั่นส่งเสริม ป้องกัน มิให้นายจ้าง/สถานประกอบกิจการเอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้การจัดลำดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยจาก Tier 2 ไปสู่ Tier 1 ตามความมุ่งหวังของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
          โอกาสเดียวกันนี้ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน ยังได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว ณ ห้องประชุมสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กำชับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานให้ดำเนินการทำตามนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวอย่างเคร่งครัด
สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงานต่างด้าวของจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฯ จำนวนทั้งสิ้น 150,731 คน แบ่งออกเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา 105,942 คน คนต่างด้าวชนกลุ่มน้อย บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน 39,350 คน คนต่างด้าวทั่วไป จำนวน 4,843 คน คนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 596 คน คนต่างด้าววัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจังหวัดเชียงใหม่ (ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ 13 ก.พ.66) จำนวน 104,076 คน มีแรงงานต่างด้าวยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานจำนวนทั้งหมด 92,356 คน
          “การใช้แรงงานที่ถูกกฎหมายจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะเกิดความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่สำคัญจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการดูแลสิทธิให้ความคุ้มครองแก่แรงงานทุกคน ทุกกลุ่มตลอดจนจะช่วยต่อต้านการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอีกด้วย” นายเดชา กล่าวท้ายสุด

          On March 2, 2023, the Assistant Permanent Secretary of Labour, Mr. Decha Pruekphathanarak, presided over the opening ceremony of the Ministry of Labour’s roadshow under the public relations project to create awareness and understanding on the Ministry of Labour and the government’s policies for administration, importation, and protection of foreign workers’ rights. The roadshow aims to raise awareness of the rights of migrant workers under the concept of “foreign workers and Thai workers treated equally” to encourage employers and business operators to employ foreign workers legally. This Chiang Mai Provincial Employment Officer, Mr. Ekaluck Ounphak, reported the event’s objective. Heads of government agencies under the Ministry of Labour in Chiang Mai Province and foreign workers gave a welcome at the Work Permit and Certificate of Identity Issuance Center at No. 138, Moo 4, Tha Sala Subdistrict, Mueang District, Chiang Mai Province.
          The Assistant Permanent Secretary of Labour, Mr. Decha Pruekphathanarak, reported that the government under the leadership of the Prime Minister and Minister of Defense, General Prayuth Chan-ocha, and the Ministry of Labour by the Labour Minister Mr. Suchart Chomklin, gives importance to managing Cambodian, Laotian, Myanmar and Vietnamese workers, concerning national security and the safety of Thai people. Today, the Ministry of Labour’s Public Relations Division, from the Office of the Permanent Secretary of Labour, carried out a roadshow to create awareness and understanding of the Ministry of Labour and the government’s policies for administration, importation, and protection of foreign workers’ rights. It aims to raise awareness of the rights of migrant workers under the concept of “foreign workers and Thai workers treated equally,” focusing on public relations to create awareness among employers and business operators employing foreign workers in the area. It further urged government agencies under the Ministry of Labour in the area to focus on integrating the management, importation, and protection of the rights of foreign workers to ensure equal treatment under the Thai labour laws, such as the minimum wage rate, medical treatment, and receiving welfare from the establishment fairly. The goal is to prevent the worst forms of human trafficking, which may pull Thailand’s human trafficking ranking lower.
          Mr. Decha continued that public relations initiatives in organizing activities in the workplace would create knowledge and understanding of equal rights between Thai and foreign workers protected by the laws of Thailand. It also expresses the Ministry of Labour and the government’s determination to promote and prevent employers/business operators from taking advantage of foreign workers in their workplaces. This will improve Thailand’s ranking in the human trafficking situation from Tier 2 to Tier 1, following the expectations of the Ministry of Labour and the government.
          On the same occasion, the Assistant Permanent Secretary of Labour chaired the meeting of heads of government agencies under the Ministry of Labour in Chiang Mai Province to monitor the management, importation, and protection of foreign workers’ rights. The occasion took place at the meeting room of the Chiang Mai Provincial Employment Office. He instructed heads of government agencies under the Ministry of Labour to strictly follow the foreign worker management policy.
Chiang Mai Province currently has 150,731 foreigners permitted to work under The Royal Decree on the Management of Foreign Workers’ Work. This population is divided into 105,942 migrant workers from Myanmar, Laos, and Cambodia, 39,350 persons without registration status, 4,843 general foreigners, and 596 BOI-promoted workers. 104,076 Cambodian, Laotian, Myanmar, and Vietnamese nationals are permitted to work in Chiang Mai (work permits expired on February 13, 2023), with a total of 92,356 foreign workers applying for a work permit renewal.
          “Employing legal workers will help solve labour shortages, which will create labour security and promote the economy and society of the country. More importantly, it will help build a good reputation for Thailand, in line with the government’s policy on protecting the rights of all workers. It will further help combat forced labour in various forms and prevent human trafficking in labour,” concluded Mr. Decha.

++++++++++++++++

กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/Division of Public Relations

2 มีนาคม 2566/2 March 2023

TOP