Skip to main content

ก.แรงงาน เข้าร่วมประชุม Colombo Process Thematic Area Working Group ณ กรุงโคลัมโบ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

รายละเอียดเนื้อหา

         นายสมศักดิ์ อภิวันทนกุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงานด้านการวิเคราะห์ตลาดแรงงานของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกแรงงานไปทำงานต่างประเทศ (Columbo Process) พร้อมด้วย Mr. H.M. Gamini Senevirathne ปลัดกระทรวงการจ้างงานในต่างประเทศของประเทศศรีลังกา ในฐานะประธานคณะทำงานด้านทักษะฝีมือและการยอมรับคุณสมบัติ  ร่วมเป็นประธานกล่าวในพิธีเปิดการประชุม Colombo Process Thematic Area Working Group Meeting ภายใต้หัวข้อ “Building synergy between Skills and Qualification Recognition and Labour Market Analysis” ระหว่างวันที่ 23 – 24 มกราคม 2561 ณ โรงแรม OZO กรุงโคลัมโบ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา โดยมีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) หน่วยงานสนับสนุนด้านเทคนิคของกระบวนการโคลัมโบ (Colombo Process Technical Support Unit: CP TSU) หน่วยงานเพื่อการพัฒนาและความร่วมมือแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss Agency for Development and Cooperation: SDC) และกระทรวงการจ้างงานในต่างประเทศของประเทศศรีลังการ่วมจัดการประชุม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกกระบวนการโคลัมโบ 12 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 60 คน โดยมีผู้แทนสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สป. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมการจัดหางานจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย




Preview

Download Images

          การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือทักษะฝีมือและการยอมรับคุณสมบัติเพื่อจัดทำ Road map เกี่ยวกับกรอบคุณวุฒิระดับภูมิภาคของกระบวนการโคลัมโบและหารือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตลาดแรงงาน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคู่มือปฏิบัติสำหรับการจัดทำงานวิจัยตลาดแรงงานของประเทศสมาชิก รวมถึงการเรียนรู้ข้อริเริ่มและประสบการณ์ของประเทศสมาชิกผู้ส่งออกแรงงาน และประเทศผู้รับแรงงานโดยเฉพาะกลุ่มอ่าวอาหรับ รวมทั้งของภาคเอกชนต่างประเทศและบริษัทจัดหางาน โดยจะมีการสรุปในวันสุดท้ายของการประชุม ทั้งนี้เพื่อให้แรงงานในกลุ่มกระบวนการโคลัมโบได้มีโอกาสทำงานดี มีรายได้และสวัสดิการที่ดีในต่างประเทศ โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานที่เป็นที่ยอมรับ

          นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะฝีมือและการยอมรับคุณสมบัติ และการวิเคราะห์ตลาดแรงงาน อาทิ การสำรวจความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกรอบคุณวุฒิระดับภูมิภาค รูปแบบการฝึกทักษะให้กับแรงงานข้ามชาติ ข้อริเริ่มและแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัยและวิเคราะห์ตลาดแรงงานจากประเทศสมาชิก การวัดแนวโน้มตลาดแรงงาน ประสบการณ์ของประเทศปลายทางในการประเมินความต้องการแรงงานข้ามชาติในแต่ละประเภทงาน เป็นต้น

 

 ********************************

 

กลุ่มงานอาเซียน

สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ

24 มกราคม 2561

 

TOP