Skip to main content

นายกฯ “ย้ำ” ก.แรงงาน รับ 5 ข้อเรียกร้อง พิจารณาดำเนินการทั้งหมด

รายละเอียดเนื้อหา

            พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2560 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) ดินแดง ผู้นำแรงงานยื่นข้อเรียกร้อง 5 ข้อ

ประกอบด้วย

          ข้อที่ ๑ ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘
          ข้อที่ ๒ ให้รัฐบาลปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม ดังนี้
                 ๒.๑ ให้รัฐบาลยกสถานะสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ 
                 ๒.๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิให้ใช้ได้ ทุกโรงพยาบาล
                 ๒.๓ ให้รัฐมนตรีแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับลูกจ้างเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการ ทำงานเมื่อลูกจ้างใข้สิทธิกองทุนเงินทดแทนครบตามหลักเกณฑ์แล้วให้ลูกจ้างมีสิทธิใข้ กองทุนประกันสังคมต่อได้ 
                 ๒.๔ ผู้ประกันตน ตามมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ให้มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกกองทุนเงินออม แห่งขาติได้
                  ๒.๕ ให้รัฐมนตรีประกาศคืนสิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ที่ขาดจากการเป็นผู้ประกันตนเข้ามาขึ้นทะเบียนได้ใหม่ ตามระยะเวลาที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 
                 ๒.๖ ให้แก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลทางการแพทยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ ให้เท่าที่จ่ายจริง
                 ๒.๗ ให้แก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดแทนกรณีขาดรายได้จากอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน เดิม ๖๐% เพิ่มเป็น ๑๐๐% ของค่าจ้าง
          ข้อที่ ๓ ให้กระทรวงแรงงานเร่งปรับปรุงกฎหมายเพื่อการคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ’ขีวิต แรงงานนอกระบบให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับ การมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ หน่วยงานและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
          ข้อที่ ๔ ให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุตินโยบายการแปรรูป
               หรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกขน หรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจและให้รัฐบาลยกเว้น การเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าขดเขย และเงินตอบแทนความชอบ ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึง เงินได้อื่นๆ ซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้ายของลูกจ้าง
          ข้อที่ ๕ ให้รัฐบาลตราพระราขกฤษฎีกา การจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างตามบทบัญญัติว่าด้วยเงินกองทุนสงเคราะห์ ในหมวด ๑๓แห่งพระราขบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ( มาตรา ๑๖๓ ) 




Preview

Download Images

           พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวคำปราศรัยในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า ผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตและบริการ ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างงาน สร้างอาชีพที่มั่นคงให้แก่คนไทย โดยมุ่งหวังให้คนไทยทุกคนมีงานทำ มีรายได้ และมีหลักประกันทางอาชีพ พร้อมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะดูแลพี่น้องแรงงานไทยในทุกสาขาอาชีพ ทั้งแรงงานภายในประเทศและในต่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แก่พี่น้องผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ให้ได้รับความคุ้มครอง สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐอย่างเท่าเทียม และมีรายได้ที่มั่นคง ตลอดจนได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานไทย ในการก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งจะทำให้เราสามารถเพิ่มรายได้ให้กับทุกคนได้ในระยะต่อไป สำหรับข้อเรียกร้องในปีนี้ เป็นงานที่รัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว และบางส่วนอยู่ระหว่างการดำเนินการ ดังนั้น เพื่อให้ข้อเรียกร้องได้รับการพิจารณาดำเนินการต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
จึงมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการหารือร่วมกับพี่น้องแรงงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และพิจารณากำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติให้ครอบคลุมในทุกมิติต่อไป
           พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี ว่า “จากนโยบายรัฐบาลที่มุ่งให้ประเทศไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ (Thailand 4.0) และที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ปัญหาด้านแรงงานจึงมีความหลากหลาย สลับซับซ้อนและมีเพิ่มขึ้น กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลความเป็นอยู่ คุ้มครองการทำงาน และบริหารจัดการโดยการพัฒนาเพื่อให้แรงงานทั้งในระบบ นอกระบบ แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศและแรงงานต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสภาพการทำงานที่ดี มีความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับสิทธิสวัสดิการที่ดี มีความมั่นคงในการทำงานมีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ รวมทั้งมีหลักประกันที่มั่นคงในการดำรงชีวิต แม้จะไม่สามารถทำงานต่อไป กระทรวงแรงงานได้มุ่งเน้นในด้านการบริหารจัดการและพัฒนาภารกิจด้านแรงงานมาโดยตลอด และได้ให้ความสำคัญกับข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานและข้อเสนอแนะของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง แรงงานทั่วไป ฝ่ายวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน มาเป็นแนวทางดำเนินการเพื่อให้ภารกิจด้านแรงงานมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ผู้ประกอบการ และลูกจ้าง
            นอกจากนี้ จากผลการดำเนินการตามข้อเรียกร้องในปีที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า กระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญกับข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะจากพี่น้องแรงงาน โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน มีการหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อพัฒนางานในการให้บริการพี่น้องแรงงาน อีกทั้งมีการจัดทำคำตอบชี้แจงไปยังกลุ่มผู้ยื่นข้อเรียกร้องทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องเสมอมา เพราะตระหนักว่าทุกข้อเสนอแนะ จะนำมาซึ่งการปรับปรุงการดำเนินการของกระทรวงแรงงาน อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลไปสู่การแก้ไขปัญหาแบบประชารัฐและแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องแรงงานทุกท่าน และสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติในที่สุด
           ภายหลังพิธีเปิด นายกรัฐมนตรีได้เดินเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2560 ซึ่งกระทรวงแรงงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน การปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ สาธิตประกอบอาชีพอิสระ นัดพบแรงงาน ตอบปัญหาชิงรางวัล บริการทันตกรรม บริการตัดผมฟรี รวมทั้งจัดคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังด้วย

 


———————————————-
กลุ่มงานโฆษกและการข่าว/กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/
ปัญจิดา อยู่ผาสุข – ข่าว/
สมภพ ศีลบุตร – ภาพ/
1 พฤษภาคม 2560

TOP