Skip to main content

รมว.สุชาติ ส่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ เปิดสัมมนาผู้บริหาร สปส. มอบนโยบาย ปี 2566 พลิกโฉมตลาดแรงงาน สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน

รายละเอียดเนื้อหา

            วันที่ 26 ธันวาคม 2565 เวลา 10.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ครั้งที่ 3/2565 โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ให้การต้อนรับ ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

            นายสุรชัย กล่าวว่า ในวันนี้ผมได้รับมอบหมายจากท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้มาเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม ในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่รัฐบาลกำหนด เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย อันจะส่งผลให้สำนักงานประกันสังคมได้รับความศรัทธา เชื่อมั่นจากนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนและประชาชนทั่วไป และเพื่อให้การขับเคลื่อนงานประกันสังคมมีความเข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของลูกจ้าง ผู้ประกันตนและสังคมโดยรวม ขอฝากนโยบายการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกครอบครัวประกันสังคม โดยขอใช้แนวทางนโยบายกระทรวงแรงงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 “MOL พลิกโฉมตลาดแรงงานไทย” ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคม คือ พลิกโฉมตลาดแรงงานและสถานประกอบการ 1.ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ของผู้ประกันตนให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม อาทิ การจัดตั้งสถาบันการแพทย์เพื่อผู้ประกันตน เพิ่มสิทธิในการเข้าถึงการรักษาโรคเฉพาะทางให้กับผู้ประกันตน การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการร่วมมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกันตน ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี 1.99% ต่อปี และได้มีพิธีลงนามไปแล้ว เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา 2.เร่งรัดการดูแลแรงงานนอกระบบ แรงงานสูงอายุ และแรงงานคนพิการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศ 3.เร่งรัดการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อมุ่งสู่การเป็น Tier 1 โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายด้านแรงงาน ตรวจการทำงาน ของแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว ตลอดจนสถานประกอบการ กลุ่มเสี่ยงอย่างครอบคลุมและทั่วถึง 4.บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการให้บริการด้านแรงงาน พัฒนาและปรับปรุง ระบบค่าจ้างและรายได้ สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ และความปลอดภัยในการทำงาน และ 5.สื่อสารเชิงรุกด้านแรงงาน เพื่อให้แรงงานรับรู้บริการของกระทรวงแรงงานและสิทธิประโยชน์แรงงาน ประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาคแรงงานอย่างทั่วถึงผ่านระบบดิจิทัล เช่น ข้อกฎหมายด้านแรงงาน กฎหมายด้านประกันสังคม เป็นต้น

            นายสุรชัย กล่าวต่อว่า ในปี 2566 กระทรวงแรงงานยังพลิกโฉมบทบาทกระทรวงแรงงาน โดยเร่งรัดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงการบริหารจัดการรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล พัฒนา ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมอาทิ ปรับปรุงกฎหมายประกันสังคม ครอบคลุม 3 ขอ คืนเงินชราภาพ
และพัฒนาบุคลากรกระทรวงแรงงานให้มีสมรรถนะสูงและมีธรรมาภิบาลส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ครอบคลุม การพัฒนาภาคแรงงานทุกมิติ มุ่งเป้าหมายสร้างกระทรวงแรงงานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาชุดข้อมูลด้านแรงงานอย่างหลากหลาย พร้อมประชาสัมพันธ์ จัดการแถลงข่าวของผู้บริหาร เผยแพร่สู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

            “ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมทุกท่าน มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจของสำนักงานประกันสังคม และสัมฤทธิ์ผลตามนโยบายของกระทรวงแรงงาน และขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ได้ทำงานหนัก ทุ่มเท เสียสละ ตลอดระยะ 2 ปี ช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สำนักงานประกันสังคมถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลดอัตราส่งเงินสมทบ การส่งเงินสมทบผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ว่างงาน ตลอดจนสิทธิประโยชน์และการให้บริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19” นายสุรชัยฯ กล่าวในท้ายสุด

—————————–

กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

TOP