Skip to main content

labourqa

Forum Replies Created

กำลังดู 15 ข้อความ - 346 ผ่านทาง 360 (ของทั้งหมด 391)
  • Author
    Posts
  • in reply to: ลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า #233394
    labourqa
    Moderator
    233394

    ตามมาตรา 17 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้การบอกเลิกสัญญาจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง แต่หากลูกจ้างยื่นใบลาออกก่อนที่กฎหมายกำหนดโดยได้รับความยินยอมจากนายจ้าง ก็เป็นไปตามที่ตกลงกัน หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลได้สามารถติดต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ทางช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
    (1) สายด่วน 1506 กด 3 (2) สายด่วน 1546 3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือ (4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th

    labourqa
    Moderator
    233387

    ตามมาตรา 70 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง เว้นแต่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง หากท่านไม่ได้รับค่าจ้างตามที่ตกลงกัน หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมท่านสามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ https://eservice.labour.go.th หรือ ยื่นคำร้องที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและพื้นที่ที่ทำงาน หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506 กด 3 ค่ะ

    in reply to: ลาฉีดวัคซีนโควิด #233119
    labourqa
    Moderator
    233119

    เรียน คุณ พ 233089

    ใช้ได้ครับ แต่ต้องแจ้งหรือยื่นขอลากิจตามระเบียบบริษัทฯ ให้ถูกต้องและลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลากิจไม่เกิน 3 วันต่อปี

    ขอบคุณครับ

    labourqa
    Moderator
    233100

    เรียน คุณ PB 232962

    กรณีรัฐบาลประกาศให้มีการทำงานที่บ้านเป็นการขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ถือว่าเป็นการปฏิบัติเป็นไปตามประกาศรัฐบาล ส่วนการลดเวลาทำงานหากมีผลต่อค่าจ้างที่ได้รับปกติ หรือการลดเงินเดือนก็ตาม ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องได้รับคำยินยอมจากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่เซ็นต์ยินยอมก็ไม่สามารถทำได้ หากภายหลังจ่ายค่าจ้างไม่ครบ ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานพื้นที่ต่อไปได้

    ขอบคุณครับ

    labourqa
    Moderator
    233099

    เรียน คุณ pey 232958

    การขอลดเงินเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากสถานะการณ์ฯ ดังกล่าวติดต่อกันเรื่อยมา แต่ต่อมานายจ้างจะปิดกิจการ ก็ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหากไม่แจ้งล่วงหน้าและปิดเลย ก็ต้องดำเนินการจ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวและเงินชดเชยตามอายุงานหรือเงินอื่น ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในกรณีนี้ลูกจ้างถูกลดเงินเดือนลง 50% นั้น ต้องดูเงื่อนไขระหว่างกันและความยินยอมของลูกจ้าง ถ้าเป็นลดแค่ชั่วคราวเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค 19 การเลิกจ้างต้องจ่ายชดเชยตามค่าจ้างจำนวนเดิม แต่ถ้าหากเป็นการลดเงินเดือนถาวรการจ่ายเงินชดเชยจะจ่ายตามเงินเดือนที่ถูกลดลง ทั้งนี้หากนายจ้างไม่จ่าย จ่ายไม่ครบ จ่ายไม่ถูกต้อง ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

    ขอบคุณครับ

    labourqa
    Moderator
    233098

    เรียน คุณ Anonymous 232935

    นายจ้างอาจแจ้งขอความร่วมมือโดยวาจาหรือเป็นอาจแจ้งเป็นหนังสือก็ได้ หากจะขอลดเงินเดือนลูกจ้างเป็นจำนวนเท่าใดหรือระยะเวลาเท่าไรก็ต้องแจ้งให้ชัดเจน ส่วนลูกจ้างมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมหรือยินยอมก็ได้ โดยอาจแจ้งเป็นวาจาหรือเป็นหนังสือกลับ ซึ่งในกรณีหากไม่ยินยอมและเมื่อถึงกำหนดนัดการจ่ายค่าจ้างปรากฏว่านายจ้างจ่ายไม่ครบ ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานพื้นที่เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อเรียกร้องเงินส่วนที่ที่นายจ้างจ่ายให้ไม่ครบต่อไป

    ขอบคุณครับ

    labourqa
    Moderator
    233097

    เรียน ลูกจ้าง จ้างเหมาบริการ
    พรบ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 พรบ. ฉบับนี้ไม่มีผลบังคับกับส่วนราชการ จึงขอให้ผู้รับจ้างเหมาบริการของส่วนราชการพิจารณาดูเรื่องของสัญญาจ้างเป็นหลักหรือติดต่อสอบถามกับส่วนราชการที่สังกัดครับ

    labourqa
    Moderator
    232915

    กรณีดังกล่าวนายจ้างไม่สามารถกระทำได้ เบื้องต้นให้ลูกจ้างแสดงตัวเข้าทำงาน หากนายจ้างไม่ยินยอมให้เข้าทำงานโดยอ้างว่าให้ใช้วันลากิจโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ท่านสามารถร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรมฯ ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ โดยสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th หากลูกจ้างมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อกองคุ้มครองแรงงาน กลุ่มงานป้องกันฯ 02-246-8994, 02-246-2938 หรือ 081-855-9180, 089-923-5491 ภายในวันและเวลาราชการ ขอบคุณครับ

    labourqa
    Moderator
    232907

    เรียนคุณ Onginn 232440

    นายจ้างไม่สามารถลดเงินเดือนได้ เว้นแต่ได้รับการยินยอมจ้างลูกจ้าง ท่านสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรมฯ ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ โดยสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th

    หากลูกจ้างมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อกองคุ้มครองแรงงาน กลุ่มงานป้องกันฯ 02-246-8994, 02-246-2938 หรือ 081-855-9180, 089-923-5491 ภายในวันและเวลาราชการ ขอบคุณครับ

    labourqa
    Moderator
    232904

    เรียนคุณ ศศิรา 232884

    หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านหรือสถานที่อื่นตามที่ตกลงกัน กรณีเช่นนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามปกติและควรวางระบบการกำกับดูแลการตรวจสอบการทำงานให้เหมาะสมเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในอนาคต อย่างไรก็ตาม นายจ้างสามารถตกลงกับลูกจ้างในการลดค่าจ้าง ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างที่กำหนดไว้ โดยได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก่อน การตกลงดังกล่าวควรกำหนดระยะเวลาในการลดค่าจ้างให้ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกจ้างว่าหากสถานการณ์ดีขึ้นจะจ่ายค่าจ้างตามปกติ

    in reply to: ไม่ได้รับเงินเยียวยา ม.33 #232875
    labourqa
    Moderator
    232875

    ในกรณีเงินเยียวยา ม.33 ของประกันสังคม ท่านสามารถตรวจสอบสิทธิด้วยตนเองโดยตรงได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่สะดวก สายด่วนโทร 1506 กด 1 หรือ 02-956-2345

    in reply to: สอบถามเรื่องค่าจ้าง #232666
    labourqa
    Moderator
    232666

    การทำงานในแต่ละวันต้องไม่เกินแปดชั่วโมงไม่รวมเวลาพักและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน เว้นแต่เวลาพักที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกินสองชั่วโมง ให้นับเวลาที่เกินสองชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานปกติ และในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ

    ท่านสามารถปรึกษาหารือเพิ่มเติมได้ที่พนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือติดต่อได้ที่หมายเลข
    (1) 1546 หรือ 1506 กด 3
    (2) กองคุ้มครองแรงงาน 0 4446 2938 หรือ 0 2246 8994

    in reply to: เงินเดือนช่วงกักตัว #232125
    labourqa
    Moderator
    232125

    เรียน คุณปิยนุช
    กรณีที่บริษัทมีคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัว เป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ กรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านทำงานอยู่ หรือสายด่วน 1506 กด 3 และ 1546 ในวันเวลาราชการ และหากท่านไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายสามารถติดต่อเพื่อยื่นคำร้อง หรือยื่นคำร้องผ่านทางระบบออนไลน์ที่ https://eservice.labour.go.th

    labourqa
    Moderator
    231751

    ด้วยความยินดีค่ะ

    labourqa
    Moderator
    231719

    เรียน คุณสนชัย
    1. กรณีที่บริษัทมีคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัว เป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ กรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
    2. กรณีที่บริษัทให้ลูกจ้างไปขอรับเงินเดือน 50% จากสำนักงานประกันสังคม บริษัทสามารถทำได้เมื่อลูกจ้างที่มีความเสี่ยงเพราะใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือที่ทำงานมีผู้ติดเชื้อ โดย “แพทย์” หรือ “เจ้าหน้าที่สาธารณสุข” ออกเอกสารให้ลูกจ้างกักตัวเพื่อสังเกตอาการ ปัญหาว่านายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ คำตอบคือ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง เพราะเป็นกรณีที่ถือว่ามี เหตุสุดวิสัย ที่ตัวลูกจ้างเองไม่สามารถมาทำงานได้ และเมื่อมีเหตุสุดวิสัย(เพราะกักตัว) ก็เข้าเกณฑ์ที่จะไปขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน แต่ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน 90 วัน อย่างไรก็ตาม ในรอบ 15 เดือนที่ผ่านมาท่านต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านทำงานอยู่ หรือสายด่วน 1506 กด 3 และ 1546 ในวันเวลาราชการ และหากท่านไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายสามารถติดต่อเพื่อยื่นคำร้อง หรือยื่นคำร้องผ่านทางระบบออนไลน์ที่ https://eservice.labour.go.th

กำลังดู 15 ข้อความ - 346 ผ่านทาง 360 (ของทั้งหมด 391)
TOP