Skip to main content

labourqa

Forum Replies Created

กำลังดู 15 ข้อความ - 376 ผ่านทาง 390 (ของทั้งหมด 391)
  • Author
    Posts
  • labourqa
    Moderator
    227560

    เรียน คุณลดา
    1. หากนายจ้างเลิกจ้างแต่ไม่จ่ายค่าชดเชยให้ยังสามารถดำเนินการเรียกร้องได้ ยังไม่หมดอายุความ
    2. หลังจากกลับเข้ามาทำงานได้อีกครั้งเมื่อแรกเข้าสภาพการทำงานต้องเป็นไปตามที่ตกลง นายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างการทำงานได้หากลูกจ้างไม่ตกลงและยินยอม

    labourqa
    Moderator
    227053

    เรียน คุุณปิยะธิดา
    การจ้างงานคนพิการกำหนดให้สถานประกอบกิจการซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รับคนพิการ ที่สามารถทำงานได้ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด อัตราส่วนลูกจ้างที่ มิใช่คนพิการทุกหนึ่งคนร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคน ถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน หากไม่จ้างสามารถส่งเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี
    กรณีที่สถานประกอบกิจการมีลูกจ้าง ไม่ถึง 100 คน แต่มีความประสงค์จะจ้างคนพิการ สามารถกระทำได้ ซึ่งเป็นอำนาจของนายจ้าง ทั้งนี้อัตราค่าจ้างต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด

    labourqa
    Moderator
    226738

    การฉีดวัคซีนต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของผู้รับวัคซีนโดยไม่อาจบังคับได้ เว้นแต่เพื่อการรักษาพยาบาลหรือเป็นมาตรการที่กฎหมายบังคับ กรณีนายจ้างไม่อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าทำงานเนื่องจากลูกจ้าง
    สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้้อโดยการกักตัวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดย่อมเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยตามพรบ.ประกันสังคมฯ ลุกจ้างอาจได้รับสิทธิประโยชน์การขาดรายได้ตามสิทธิประโยชน์ที่ประกันสังคมกำหนด แต่กรณีลูกจ้างไม่ประสงค์ฉีดวัคซีนนายจ้างนำมาเป็นเหตุไม่อนุญาตให้เข้าทำงานนี้ ซึ่งเหตุนี้อาจจะถือเป็นเหตุเพื่อประโยชน์แห่งนายจ้างหรือเพื่อการควบคุมโรคตามกฎหมายที่เกี้่ยวข้อง จึงคำสั่งเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแต่นายจ้างยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับวันทำงานตามปกติ

    in reply to: บริษัทหักเงินประกัน #226301
    labourqa
    Moderator
    226301

    กรณีการที่นายจ้างเรียกหรือรับประกันหลักประกัน หากนายจ้างเลิกจ้างต้องคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยให้กับลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับวันที่นายจ้างเลิกจ้าง หรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นสุด ทั้งนี้หากนายจ้างไม่คืนให้ตามเวลาที่กำหนด สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ที่ท่านทำงาน หรือ ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงแพร่ระบาด Covic 19 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการโดยสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ผ่านทางลิ้งค์ http://eservice.labour.go.th// วีดีโอแนะนำการยื่นคำร้องออนไลน์ http://youtube.com/watch?v=XacJXnHWA8 หากมีกรณีสงสัยท่านสามารถสอบถามหรือ แจ้งขอมูลเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบได้ที่ โทร. 02-0252468994 กลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงาน ในวันและเวลาราชการ หรือผ่าน Line official กองคุ้มครองแรงงานตาม https://lin.ee/RwDD97Z

    in reply to: เงินค่าทำงานล่วงเวลา #225395
    labourqa
    Moderator
    225395

    การทำงานล่วงเวลาเป็นการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติ ซึ่งหากนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาและลูกจ้างยินยอม นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง (การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน) หรือ 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง หากเป็นการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 61 และมาตรา 63 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และในการทำงานล่วงเวลานั้นลูกจ้างไม่จำเป็นต้องทำงานครบ 8 ชั่วโมงตามที่นายจ้างกล่าวอ้าง ดังนั้น หากนายจ้างให้ท่านทำงานล่วงเวลาตั้งแต่ เวลา 17.30-19.30 น. ท่านก็มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

    labourqa
    Moderator
    224056

    ตอบคำถามคุณ WC
    กรณีที่ 1 ค่าจ้างต้องจ่ายตามกำหนดที่ตกลงกัน ตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
    หากเป็นการเลิกจ้างให้จ่ายภายใน 3 วันนับแต่วันเลิกจ้าง และเมื่อถึงกำหนดแล้วนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนายจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
    กรณีที่ 2 การลาออกโดยไม่แจ้งบอกเลิกสัญญาล่วงหน้าตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
    พ.ศ. 2541 อาจเป็นเหตุให้นายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ แต่นายจ้างก็ยังมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายค่ะ เนื่องจากเป็นสัญญาต่างตอบแทน

    labourqa
    Moderator
    223882

    ตอบคำถามคุณหทัยรัตน์ หากลูกจ้างอยู่ในข่ายเป็นผู้ติดเชื้อหรืออาจจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือว่านายจ้างมีเหตุผลอันสมควร ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด นายจ้างอาจมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ แต่กรณีไม่มีความเสี่ยงดังกล่าวและลูกจ้างไม่ยินยอมเข้ารับการตรวจ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจนายจ้างสามารถกระทำได้
    จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม

    labourqa
    Moderator
    223836

    ตอบคำถามคุณภคอร ตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยการลาตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ดังนั้น การลาป่วย 1 วัน หากลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับในการทำงานแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยนั้น แต่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน

    labourqa
    Moderator
    223835

    ตอบคำถามคุณกาญจนา หากลูกจ้างกระทำความผิดและบริษัทกำหนดขั้นตอนการลงโทษไว้ในข้อบังคับในการทำงาน ขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการลงโทษที่กำหนดไว้ค่ะ เช่น การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนเป็นหนังสือ

    labourqa
    Moderator
    223044

    ตอบคำถาม คุณ A 222461 จากกรณีคำถาม ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณนายจ้างสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินอยมจากลูกจ้าง
    แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ หรือเป็นคุณแก่บางคน บางกลุ่ม นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

    หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลูกจ้างได้ยินยอมเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานและปรับลดเงินเดือนลงแล้ว นายจ้างก็สามารถใช้สภาพการจ้างดังกล่าวได้ แต่ต่อมานายจ้างจะปรับเวลาทำงานกลับมาเหมือนเดิมแต่ยังคงจ่่ายค่าจ้างเท่าเดิม ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ หากลูกจ้างยินยอมเป็นหนังสือ เป็นรายบุคคล ก็สามารถกระทำได้ แต่หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณโดยปราศจากความยินยอมของลูกจ้างได้

    ทั้งนี้ การที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานนอกหรือเกินเวลาการทำงานปกติ หากลูกจ้างยินยอมทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาดังกล่าว

    หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายแรงงงาน สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทร 02-246-7039 กลุ่มงานที่ปรึกษากฎหมายฯ กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

    ขอบคุณค่ะ

    labourqa
    Moderator
    222964

    ตอบคำถาม คุณจอมพล 222866 ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การจ้างงานหรือสัญญาจ้างแรงงาน มิได้กำหนด จำกัด การจ้างงานหรือสิทธิประโยชน์ ระหว่างบุคคลทั่วไปกับมีคนพิการไว้ หากนายจ้างรับคนพิการเข้าทำงาน นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเช่นเดียวกับสัญญาจ้างทั่วไป โดยไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ แต่นายจ้างอาจกำหนดหน้าที่การทำงาน ความรับผิดชอบของงานให้เหมาะสมกับลูกจ้างได้

    in reply to: ขอใบรับรองเงินเดือน #222551
    labourqa
    Moderator
    222551

    กรณีตามคำถาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้นายจ้างต้องออกใบรับรองเงินเดือน ดังนั้น หากลูกจ้างต้องขอให้นายจ้างออกใบรับรองเงินเดือนให้โดยบอกวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้นายจ้างทราบ

    labourqa
    Moderator
    222542

    ตามหลักสิทธิและเสรีภาพการบังคับให้ฉีดวัคซีนจะกระทำไม่ได้หากไม่ยินยอม เพราะการรักษาทางการแพทย์ต้องได้รับความยินยอม และหากนายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างนั้นจะกระทำไม่ได้เป็นการขัดต่อกฎหมาย

    labourqa
    Moderator
    222452

    หากลูกจ้างทำงานต้องได้รับค่าจ้าง เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้วและค่าจ้างถึงกำหนดจ่ายตามข้อตกลงนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาตามมาตรา 70 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายจ้างไม่มีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง เมื่อค่าจ้างถึงกำหนดแล้วนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนายจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัตฉบับเดียวกัน หากลูกจ้างยังไม่ได้รับค่าจ้างให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือผ่านทางลิ้งค์ https://s97.labour.go.th/pub_request/ContactForm.php

    labourqa
    Moderator
    222447

    ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 กำหนดให้นายจ้างห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดเว้นแต่เป็นการหักเพื่อชำระภาษีเงินได้ ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน หนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือเงินประกัน หากการหักเงินของนายจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นตามที่กล่าวมาข้างต้น นายจ้างจะไม่สามารถหักเงินเพื่อเป็นค่าปรับได้ครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมท่านสามารถติดต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ที่หมายเลข
    (1) 1546 หรือ 1506 กด 3
    (2) กองนิติการ 0 2246 7039 หรือ 0 2246 7589
    (3) กองคุ้มครองแรงงาน 0 4446 2938 หรือ 0 2246 8994
    นอกจากนี้ท่านสามารถดูหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานของกรมฯ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.labour.go.th ครับ

กำลังดู 15 ข้อความ - 376 ผ่านทาง 390 (ของทั้งหมด 391)
TOP