Skip to main content

labourqa

Forum Replies Created

กำลังดู 15 ข้อความ - 331 ผ่านทาง 345 (ของทั้งหมด 391)
  • Author
    Posts
  • in reply to: ให้ลาไม่ได้รับเงินเดือน #233574
    labourqa
    Moderator
    233574

    นายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้างไม่ได้ครับ หากนายจ้างประสงค์จะหยุดกิจการชั่วคราวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนนายจ้างต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ และลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ โดยในกรณีที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยนายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 75
    แต่จากข้อเท็จจริงของท่านปรากฏว่า นายจ้างให้ท่านมาทำงาน ดังนั้น นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามปกติ ทั้งนี้ หากถึงวันจ่ายค่าจ้างแล้วนายจ้างไม่จ่ายหรือจ่ายไม่ถูกต้อง ท่านสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือยื่นออนไลน์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th/
    ** วีดีโอแนะนำการยื่นคำร้องออนไลน์ https://www.youtube.com/watch?v=-XacJXnHWA8

    in reply to: สวัสดิการพนักงาน #233567
    labourqa
    Moderator
    233567

    ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 95 ประกอบกับกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2548 ข้อ 1 (2) “กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง…” เมื่อนายจ้างไม่จัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ท่านสามารถร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน

    ผ่านทางลิ้งก์ https://s97.labour.go.th/pub_request/ContactForm.php เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานเข้าไปตรวจสอบและแนะนำให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

    labourqa
    Moderator
    233554

    กรณีดังกล่าวลูกจ้างสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่ตนทำงานอยู่หรือสามารถทำหนังสือร้องเรียนมายังสำนักงานประกันสังคมที่
    ssoeditorial@gmail.com หรือติดต่อไปยังหมายเลข 029562345 ภายในวันและเวลาราชการ

    labourqa
    Moderator
    233507

    เรียน คุณ Wassana 233467
    การปรับลดจำนวนชั่วโมงการทำงานและลดค่าจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างไม่สามารถกระทำได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านสามารถยื่นคำร้องเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ โดยสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th

    labourqa
    Moderator
    233497

    เรียน คุณ Chantr 233328
    การลดค่าจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างไม่สามารถกระทำได้ สำหรับการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ ดังนั้น หากลูกจ้างลาป่วยเพียง 1 วัน จึงไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ก็ได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านสามารถยื่นคำร้องเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ โดยสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th

    labourqa
    Moderator
    233493

    ทั้งนี้ หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ท่านสามารถติดต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดังนี้ค่ะ (1) สายด่วน 1506 กด 3 (2) สายด่วน 1546 (3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน หรือ 4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th
    ขอบคุณค่ะ

    labourqa
    Moderator
    233491

    ถ้าลูกจ้างหายป่วยแล้ว สามารถกลับเข้าทำงานได้ตามปกติ โดยหากลาป่วยเกิน 3 วันทำงาน ควรแสดงใบรับรองแพทย์ประกอบการลา แต่หากสถานประกอบกิจการมีมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เช่น ให้กักตัวต่อเนื่องอีก 7 วัน 14 วัน ก็จะให้เป็นไปตามกฎระเบียบนั้น ๆ โดยขึ้นอยู่กับการกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด—19 ของแต่ละบริษัท/สถานประกอบการค่ะ

    labourqa
    Moderator
    233441

    หรือสามารถติดต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ทางช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ (1) สายด่วน 1506 กด 3 (2) สายด่วน 1546
    3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน (4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th ค่ะ

    labourqa
    Moderator
    233438

    หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุไม่ผ่านทดลองงาน นายจ้างต้องแจ้งบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง หรือจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าว ตามมาตรา 17 และมาตรา 17/1 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ และหากลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามอายุการทำงาน ตามมาตรา 118 ค่ะ

    in reply to: ลาฉีดวัคซีนโควิด #233405
    labourqa
    Moderator
    233405

    1. การลาต่างๆ รวมถึงการลากิจให้ปฏิบัติตามข้อบังคับในการทำงานของแต่ละสถานประกอบกิจการ ซึ่งอาจกำหนดให้ลาล่วงหน้า และกำหนดช่วงเวลาในการลาไว้
    2. การลาไปฉีดวัคซีนสามารถใช้สิทธิลากิจ หรืออาจใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ค่ะ ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจนควรสอบถามฝ่ายบุคคลว่า สถานประกอบกิจการกำหนดให้ใช้สิทธิใดในการขอลาไปฉีดวัคซีน
    นอกจากหมายเลข 1506 กด 3 สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ทางช่องดังนี้ ค่ะ 1) สายด่วนสายด่วน 1546 2)สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือ (4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th ค่ะ

    in reply to: การจ่ายเงินเดือน #233404
    labourqa
    Moderator
    233404

    แต่หากนายจ้างสั่งปิดกิจการเอง นายจ้างยังมีหน้าที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด โดยหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถติดต่อ่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ทางช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ (1) สายด่วน 1506 กด 3 (2) สายด่วน 1546 3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือ (4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th ค่ะ

    in reply to: การจ่ายเงินเดือน #233403
    labourqa
    Moderator
    233403

    หากนายจ้างปิดสถานประกอบกิจการตามที่รัฐบาลประกาศ สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยได้ที่สำนักงานประกันสังคม โดยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคม สายด่วน 1506 กด 1 หรือทางเว็บไซต์ https://www.sso.go.th ค่ะ

    labourqa
    Moderator
    233402

    สำหรับการส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคม สายด่วน 1506 กด 1 หรือทางเว็บไซต์ https://www.sso.go.th ค่ะ

    labourqa
    Moderator
    233401

    หากท่านไม่ได้ค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด สามารถติดต่อได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ทางช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
    (1) สายด่วน 1506 กด 3 (2) สายด่วน 1546 3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือ (4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th

    labourqa
    Moderator
    233400

    ตามมาตรา 5 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ค่าจ้างหมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง อาจจะเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือตามผลงานที่ลูกจ้างทำก็ได้ แต่ทั้งนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละท้องที่ ตามมาตรา 90 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

กำลังดู 15 ข้อความ - 331 ผ่านทาง 345 (ของทั้งหมด 391)
TOP