Skip to main content

labourqa

Forum Replies Created

กำลังดู 15 ข้อความ - 46 ผ่านทาง 60 (ของทั้งหมด 391)
  • Author
    Posts
  • labourqa
    Moderator
    359007

    เรียน คุณนิติพงษ์ มหาวรรณ

    กรณีของท่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน แนะนำให้ท่านติดต่อสอบถามให้รายละเอียดข้อมูลที่พนักงานตรวจแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ที่ช่องทาง
    1) สายด่วน 1546
    2) สายด่วน 1506 กด 3 หรือ
    3) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพ ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์จากเว็ปไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน http://www.labour.go.th (เมนู ติดต่อกรม) เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ หรือยื่นคำร้องผ่านระบบออนไลน์ ที่ http://s90.labour.go.th/e_request/login.php

    in reply to: ขอคำปรึกษา #358918
    labourqa
    Moderator
    358918

    กรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนด จะได้รับค่าชดเชยการเลิกจ้างต่อเมื่อมีการทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน ดังนั้น ท่านจึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย อย่างไรก็ตาม ท่านมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามจำนวนวันที่ทำงานจริง และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเงินดังกล่าวข้างต้น ท่านสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงาน ตรวจสอบได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1 และ https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2
    หรือยื่นคำร้องออนไลน์ผ่านทางลิ้งค์ : https://eservice.labour.go.th/ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ครับ
    ** วีดีโอแนะนำการยื่นคำร้อง (คร.7) ออนไลน์

    labourqa
    Moderator
    357710

    เรียนคุณกัญจน์ปณิดา
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    in reply to: ขอคำปรึกษา #357673
    labourqa
    Moderator
    357673

    เรียนคุณAnymind anything ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานไม่ครบกำหนดในสัญญาจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยเป็น 3 เท่าของเงินเดือน แต่นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหักค่าจ้างหรือระงับการจ่ายค่าจ้างได้ ถึงแม้จะมีน้อยคดีที่จะถูกนายจ้างฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน แต่ถ้าลูกจ้างทำผิดสัญญาหรือทำละเมิดสืบเนื่องมาจากการเป็นนายจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างก็อาจถูกนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่มูลค่าตวามเสียหายนั้น นายจ้างมีหน้าที่พิสูจน์ว่าลูกจ้างนั้นทำให้เกิดความเสียหายจริงหรือไม่

    in reply to: ขอคำปรึกษา #357656
    labourqa
    Moderator
    357656

    เรียนคุณNP1112 ขอแบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ ข้อ1 ตามมาตรา 28 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้ ข้อ2 ตาม มาตรา 32 ประกอบกับมาตรา 57 กล่าวว่าให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    labourqa
    Moderator
    355816

    กรณีที่ลูกจ้างติดโควิด ลูกจ้างมีมีสิทธิใช้วันลาป่วย เนื่องจาก ลูกจ้างมีสิทธลาป่วยได้ตามความเป็จริง ใน 1 ปี สามารถลากป่วยได้ 30 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย หรือลูกจ้างกับนายจ้างสามารถตกลงกันให้ลูกจ้างใช้วันลาพักผ่อน

    labourqa
    Moderator
    355130

    เรียนคุณ Saensathan0035 กรณีที่ท่านสอบถามต้องแยกเป็นเรื่องที่ 1 หักค่าลากิจ ตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นโดยได้รับค่าจ้างปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน คุณต้องตรวจสอบว่าคุณใช้สิทธิเกินหรือยัง ถ้ายังสามารถยื่นคำร้องค่าจ้างในวันลากิจได้ แต่เรื่องที่ 2 หักตามกฎหมายประกันสังคม นายจ้างมีสิทธิหัก และตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ม.76 (1) หักตามกฎหมายอื่นๆ ฉะนั้นท่านร้องทุกข์เรื่องที่ 2 ไม่ได้ครับ

    (ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    in reply to: เงินชดเชยเกษียนอายุ #355129
    labourqa
    Moderator
    355129

    เรียนคุณ ปภาณ์วรินทร์ เรื่อง การเกษียณอายุงานนั้น กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ใน ม.118/1 ว่าการเกษียณอายุงานเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ศึ่งอาจจะกำหนด 55 ปี 60 ปี 65 ปี 70 ปี ก็ย่อมได้ แต่หากนายจ้างไม่ได้กำหนดอายุการเกษียณงานไว้ หรือกำหนดมากกว่า 60 ปี ลูกจ้างสามารถยื่นขอใช้สิทธิเกษียณอายุงานได้เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ครับ เมื่อยื่นแล้วต้องทำงานต่ออีก30วัน และวันที่30นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามสิทธิ อายุงานสามีท่านเกิน 20 ปี ต้องได้รับค่าชดเชย 400 วันครับ

    (ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    labourqa
    Moderator
    355128

    เรียนคุณ ธนรัต การย้ายงานดังกล่าวจะเป็นการปิดกิจการแล้วไปเปิดสาขาใหม่ หรือการปิดบางส่วนและไปเปิดใหม่ ซึ่งที่นั้นไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งอาจเข้าข่าย ม.120 หรือไม่นั้น ต้องให้ท่านนำข้อเท็จจริงไปปรึกษาสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใกล้บ้านท่านอย่างเร็วที่สุดเพื่อรักษาสิทธิการปฏิเสธไม่ไปปฏิบัติงานแห่งใหม่นั้น และการได้รับค่าชดเชยพิเศษ หรือเป็นการย้ายงานตามอำนาจนายจ้างปกติหรือไม่และการย้ายนั้นต้องไม่สร้างภาระต่อลูกจ้างเกินสมควร ซึ่งนายจ้างควรอำนาจความสะดวกและจัดสวัสดิการเพิ่มเติมให้ด้วย

    (ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    labourqa
    Moderator
    355127

    เรียนคุณ sirithip
    ตามที่ท่านสอบถาม ว่า พนักงานลูกจ้างรายวันกับวันหยุดตามประเพณี/นักขัตฤกษ์ค่ะ

    คำถามข้อที่ (1) วันหยุดนักขัตฤษ์/ประเพณี ร้านปิด พนักงานหยุด ไม่ได้ทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงวันนั้นหรือไม่คะ
    คำตอบข้อ (1) ต้องดูว่านายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีประจำปีนั้นๆ วันไหนบ้าง ซึ่ง ม. 29 พรบ.คุ้มครองแรงงานให้นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี 13 วัน ซึ่งมีวันบังคับคือวันแรงงานแห่งชาติ และให้เลือกอีก 12 วัน จากวันหยุดราชการประจำปี (วันหยุดพิเศษไม่นับ) จากวันหยุดทางศาสนา และตามขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นครับ และเมื่อนายจ้างประกาศวันดังกล่าวแล้วลูกจ้างต้องได้หยุดและได้รับค่าจ้างตาม ม. 56 (2) ครับ

    คำถามข้อที่ (2) ในวันหยุดนักขัตฤกษ์/วันหยุดตามประเพณี ร้านไม่ได้หยุด แต่เจ้านายให้พนักงานหยุดได้ตามสิทธิปกติ เพราะนายจ้างทำงานส่วนนั้นเองได้ แต่ลูกจ้างไม่อยากหยุด ขอมาทำงานในวันนั้นเอง เราต้องจ่ายค่าแรงอย่างไรคะ
    คำตอบข้อที่ (2) การทำงานในวันหยุดตามประเพณี นายจ้างต้องเป็นผู้สั่งให้ลูกจ้างมาทำงานและลูกจ้างยินยอมมาทำ และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มอีก 1 แรง (เช่น ค่าจ้าง 331 ทั้งวันนั้นจะได้ค่าจ้างทั้งหมด 331X 2 = 662 บาท) ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามนี้ กรณีลูกจ้างมาเองนายจ้างปฏิเสธไม่ให้ทำงานในวันหยุดได้

    คำถามข้อที่ (3) ในวันหยุดนักขัตฤกษ์/ประเพณี หากเราไม่ได้ให้หยุด ขอให้มาช่วยในวันหยุดนั้นเราต้องจ่าย 2 แรงใช่หรือไม่คะ
    คำตอบข้อที่ (3) นายจ้างต้องต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีเพิ่มอีก 1 แรง (เช่น ค่าจ้าง 331 ทั้งวันนั้นจะได้ค่าจ้างทั้งหมด 331X 2 = 662 บาท) ตาม ม. 56 (2) และ ม.62 (2) ครับ
    คำถามข้อที่ (4) วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี ที่ลูกจ้างรายวันมีสิทธิพึงได้ ตามสิทธินั้น คือวันหยุดที่ราชการกำหนดทุกวันตามปฏิทินเลยใช่ไหมคะ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ วันพ่อแม่ วันหยุดชดเชย ออกพรรษา เข้าพรรษา วิสาข อาสาฬห ฯ จากวันหยุดทางศาสนา และตามขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นครับ
    คำตอบข้อที่ (4) ไม่ใช่ครับ นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีประจำปีนั้นๆ วันไหนบ้าง ซึ่ง ม. 29 พรบ.คุ้มครองแรงงานให้นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี 13 วัน ซึ่งมีวันบังคับคือวันแรงงานแห่งชาติ และให้เลือกอีก 12 วัน จากวันหยุดราชการประจำปี (วันหยุดราชการประจำปีตามสำนักนายกประกาศไป 2565มีจำนวน 19 วัน / ทั้งนี้วันหยุดราชการพิเศษไม่สามารถนำมานับเป็นวันหยุดตามประเพณี ม.29 จำนวน 13 วันได้)
    (ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    in reply to: นายจ้างไม่ให้ใบลาออก #355023
    labourqa
    Moderator
    355023

    เรียนคุณ ขวัญประภา การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546) ทั้งนี้ท่านอาจใช้วิธีการแจ้งให้นายจ้างทราบตามวิธีต่างๆ ที่มีหลักฐาน เช่น ส่งจดหมายลาออกให้นายจ้างผ่านไปรษณีย์ AR ตอบรับ EMS (ใบฟ้า) เมื่อบริษัทรับหนังสือใบฟ้าจะส่งกลับมายังท่าน ก็นับวันที่เขาลงรับไปตามที่ท่านประสงค์แจ้งล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง เท่านี้ถือเป็นการลาออกที่สมบูรณ์แล้ว
    (ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    in reply to: นายจ้างไม่ให้ใบลาออก #355022
    labourqa
    Moderator
    355022

    เรียนคุณ ขวัญประภา การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546) ทั้งนี้ท่านอาจใช้วิธีการแจ้งให้นายจ้างทราบตามวิธีต่างๆ ที่มีหลักฐาน เช่น ส่งจดหมายลาออกให้นายจ้างผ่านไปรษณีย์ AR ตอบรับ EMS (ใบฟ้า) เมื่อบริษัทรับหนังสือใบฟ้าจะส่งกลับมายังท่าน ก็นับวันที่เขาลงรับไปตามที่ท่านประสงค์แจ้งล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง เท่านี้ถือเป็นการลาออกที่สมบูรณ์แล้ว
    (ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    labourqa
    Moderator
    355014

    เรียนคุณ Pu1730 เรื่อง หลักประกันการทำงานหรือประกันความเสียหาย กฎหมายกำหนดไว้ใน มาตา 10 พรบ. คุ้มครองแรงงาน ประกอบ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2551
    โดยก่อนอื่นต้องดูก่อนว่านายจ้างทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อันดับแรกต้องเป็นตำแหน่งท่านนายจ้างมีสิทธิเรียกรับหรือไม่ ถ้าไม่มีสิทธิต้องคืนเงินที่หักไปให้ลูกจ้างจะเป็นการร้องทุกข์ให้นายจ้างคืนเงินที่หักไปโดยไม่มีสิทธิ์หัก ตามมาตรา 76 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่หากเก็บได้ถ้าไม่มีความเสียหายจากการทำงานนั้น นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานภายใน 7 วัน ถ้าไม่คืนให้ยื่นคำร้องให้นายจ้างคืนได้ ตามมาตรา 10 และดอกเบี้ยมาตรา 9 ได้ครับ
    (ทั้งนี้คำปรึกษานี้ไม่สามารถนำไปประกอบคดีแรงงานได้เนื่องจากต้องนำเอาข้อเท็จจริงจากกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น)
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    labourqa
    Moderator
    355011

    เรียนคุณ วิบูลย์ชัย ปาสองห้อง เรื่องการลาป่วยตาม มาตา 32 พรบคุ้มครองแรงงาน
    ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยเท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือสถานพยาบาลของราชการ จะเห็นได้ว่า 26-27 กรกฎาคม 2565 ต่อมาเป็นวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดประจำสัปดาห์คือ 29-31 กรกฎาคม 2565 ลูกจ้างลาป่วยอีกคือวันที่ 1-2 สิงหาคม 2565 นายจ้างชอบที่จะเรียกรับใบรับรองแพทย์เพราะถือเป็นต่อเนื่อง 3 วันทำงาน แต่หากลูกจ้างไม่สามารถแสดงใบรับรองแพทย์ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ซึ่งนายจ้างอาจให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ที่นายจ้างจัดให้เพื่อตรวจหาอาการป่วยที่มีการป่วยต่อเนื่องนั้นได้
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    in reply to: ขอคำปรึกษา #354997
    labourqa
    Moderator
    354997

    เรียนคุณ สุวภัทร เรื่องดังกล่าวเป็นการบริหารจัดการภายในบริษัทฯ ในกรณีการย้ายงานถ้าสงสัยอำนาจของผู้จัดการต้องไปดูว่าบริษัทได้กำหนดอำนาจหน้าที่อย่างไร มีอำนาจย้ายลูกจ้างไปแผนกอื่นได้หรือไม่อย่างไร และการที่ลูกจ้างถูกย้ายนั้นต้องไปดูสัญญาจ้างกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าลูกจ้างได้ตกลงยินยอมย้ายงานย้ายแผนกหรือไม่ และในแง่ข้อกฎหมายนั้นการเลี่ยนแปลงสภาพการจ้างถ้าการเปลี่ยนงานนั้นไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเช่นลดตำแหน่ง ลดเงินเดือน เช่นนี้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ตามมาตรา 20 พรบ. แรงงานสัมพันธ์ครับ
    ถ้าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

กำลังดู 15 ข้อความ - 46 ผ่านทาง 60 (ของทั้งหมด 391)
TOP