Skip to main content

labourqa

Forum Replies Created

กำลังดู 15 ข้อความ - 61 ผ่านทาง 75 (ของทั้งหมด 391)
  • Author
    Posts
  • labourqa
    Moderator
    354705

    เรียน ลูกจ้างสนามบิน
    ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ 2541 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และตามมาตรา 27 วรรค 4 ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
    นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา ทั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมกรุณาติดต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการ ตั้งอยู่ โดยสามารถตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพฯ/จังหวัด ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th) เมนู ติดต่อกรม หรือโทรสาย ด่วน 1506 กด 3 และ 1546 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.)

    labourqa
    Moderator
    351763

    หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมตามที่กฎหมายกำหนด ท่านสามารถติดต่อ พนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ที่ทำงาน เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ต่อไป (ในวันเวลาราชการ)
    รายละเอียดเบอร์โทรศัพท์และที่ตั้งสำนักงาน เพื่อติดต่อ พนักงานตรวจแรงงาน มีดังนี้
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2
    และท่านสามารถติดต่อกรมเพื่อขอคำปรึกษาได้หลายช่องทางดังนี้
    1. สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)
    2. สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)

    labourqa
    Moderator
    349865

    เรียน Lyly กรณีลูกจ้างแจ้งลาออกไม่ว่าจะโดยวาจา หรือเขียนใบลาออก ถือว่าไม่ประสงค์ทำงานกับนายจ้าง การลาออกต้องพิจารณาตามข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง กรณีการลาออกแล้วเกิดความเสียหายต่อนายจ้าง นายจ้างสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่ถ้าการลาออกไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น ลูกจ้างก็สามารถทำได้ ถ้าการกระทำของนายจ้างเกิดความไม่เป็นธรรมต่อ ลูกจ้าง สามารถร้องเรียนต่อ พนักงานตรวจแรงงาน ท้องที่ที่ทำงานค่ะ

    รายละเอียดเบอร์โทรศัพท์และที่ตั้งสำนักงาน เพื่อติดต่อ พนักงานตรวจแรงงาน มีดังนี้ครับ
    1. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    2. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2
    หรือ ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/
    ท่านสามารถศึกษาขั้นตอนตามวิดีโอนี้
    https://www.youtube.com/watch?v=XYo16x4Y4PI”

    in reply to: ขอคำปรึกษา #349418
    labourqa
    Moderator
    349418

    เรียน คุณวาสนา กรณีที่ลูกจ้างขอลาออก การจ่ายค่าจ้าง จะมีผลการจ่ายค่าจ้างตามรอบการจ่ายค่าจ้างนั้น ตามจำนวนวันทำงานที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงาน

    in reply to: ขอคำปรึกษา #349417
    labourqa
    Moderator
    349417

    เรียน คุณMarine Tender การที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนารมณ์การขอลลาออกอย่างชัดเจน โดยให้มีผลของการลาออกนั้น ไม่จำเป็นต้องให้นายจ้างอนุมัติก็ได้ หากมีความเสียหายต่องานที่ลูกจ้างทำ นายจ้างสามารถใช้สิทธิเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง กับทางศาลแรงงานได้

    labourqa
    Moderator
    349403

    เรียน คุณKwanruethai ในกรณีที่นายจ้างไม่นำเงินหลักประกันการทำงานคืนแก่นศ.ฝึกงาน เมื่อนายจ้างผิดสัญญา เมื่อออกจากงานจะคืนเงินให้ ติดต่อสอบถามได้ทางศาลแรงงานกลาง 02-235-1500

    in reply to: ขอคำปรึกษา #349237
    labourqa
    Moderator
    349237

    เรียน คุณKaimook ที่ท่านสอบถามมานั้น การที่ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ แต่ถ้าลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างหรือขาดงานไปโดยเหตุอันสมควรและชั่วระยะเวลาน้อยพอสมควรนั้น นายจ้างไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันถ้ามีเหตุสมควร เช่น ขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่แจ้งนายจ้าง นายจ้างก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้
    การลงลายมือชื่อในอกสารหรือเซ็นชื่อลงในสัญญาจ้าง ย่อมมีผลผูกพันตามสัญญาแล้ว ไม่ถือว่าสัญญาตกเป็นโมฆะ ส่วนสัญญาจ้างได้เปรียบหรือไม่ก็ต้องไปดูในสัญญาจ้าง เพราะอย่างไรก็ตามกฎหมายก็คุ้มครองในเรื่องนี้อยู่แล้ว
    ส่วนที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างเรียกค่าผิดสัญญานั้น หากเห็นว่าเรียกร้องมาสูงเกินความเสียหายที่แท้จริง ศาลแรงงานมีการนัดไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันได้ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง แต่ถ้านายจ้างกับลูกจ้างไม่อาจตกลงหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้ ศาลแรงงานก็ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานกันต่อไป แต่ถ้าลูกจ้างไม่ผิดสัญญาศาลก็พิพากษายกฟ้องได้เข่นกัน

    labourqa
    Moderator
    349233

    เรียน คุณ Duangjai กรณีเป็นลูกจ้างรายเดือน มีการแจ้งการลาออกและจะทำงานถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 นั้น ค่าจ้างที่จะได้รับนั้นจะได้รับเต็มเดือนของเดือนกรกฎาคม 2565
    หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านสามารถติดต่อสอบถามขอคำปรึกษาและให้ข้อมูลเพิ่มเติม ต่อพนักงานตรวจแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดังนี้
    1) สายด่วน 1506 กด 3
    2) สายด่วน 1546
    3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 หรือ
    4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th (24 ชั่วโมง)

    labourqa
    Moderator
    349230

    เรียนคุณ B มีสิทธิได้รับค่าจ้างถึงวันที่ทำงานเป็นวันสุดท้าย
    หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านสามารถติดต่อสอบถามขอคำปรึกษาและให้ข้อมูลเพิ่มเติม ต่อพนักงานตรวจแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดังนี้
    1) สายด่วน 1506 กด 3
    2) สายด่วน 1546
    3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 หรือ
    4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th (24 ชั่วโมง)

    in reply to: ขอคำปรึกษา #349199
    labourqa
    Moderator
    349199

    เรียน คุณสุธรรม ที่ท่านสอบถามมานั้น เป็นเรื่องของอายุงานที่ต้องนำมานับต้องต่อเนื่องกันไม่ขาดตอน ดังนั้น หากลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้วกลับเข้ามาทำงานใหม่ ในช่วงที่ออกไปนั้นจะนำมารวมไม่ได้เพราะถือว่าไม่ติดต่อกัน ต้องเริ่มนับอายุงานใหม่ ยกเว้นนายจ้างและลูกจ้างมีข้อตกลงในการนับอายุงานต่อให้

    หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    labourqa
    Moderator
    349182

    ตอบคำถามคุณสาโรจน์ ตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยการลาตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ดังนั้น การลาป่วย 1 วัน ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับในการทำงานแล้ว เช่น มีการแจ้งลาป่วยภายในระยะเวลาที่บริษัทกำหนดไว้ต่อหัวหน้างานทราบ นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยนั้น แต่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน (หากลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในวันป่วยนั้น สามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันลาป่วยได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่/จังหวัด)

    labourqa
    Moderator
    348776

    เรียน คุณ kamjohndait

    กรณีนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดที่บริษัทฯกำหนด ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดอีก 1 เท่า และถ้าให้ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าครับ
    หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมรบกวนให้ท่านติดต่อ พนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ (ในวันเวลาราชการ)
    ท่านสามารถดูรายละเอียดเบอร์โทรศัพท์และที่ตั้งสำนักงาน ดังนี้
    – สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
    – สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
    https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2
    หรือสายด่วน 1546 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)
    สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)

    labourqa
    Moderator
    347997

    เรียน คุณ ฟ้า กรณีลูกจ้างติดโควิด 19 ย่อมแปลว่าลูกจ้างป่วย และใน 1 ปี ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างในวันลาป่วย 30 วัน ส่วนวันที่เกินสามารถไปขอรับที่สำนักงานประกันสังคมได้ ในกรณีนี้ต้องตรวจสอบว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยปีนี้ไปแล้วเท่าไร จึงจะบอกว่าลูกจ้างสิทธิเท่าใด ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    in reply to: ขอคำปรึกษา #347996
    labourqa
    Moderator
    347996

    เรียน คุณ Mooni ตามคำถามที่ท่านสอบถามมานั้น ขออนุญาตอธิบายดังนี้ กรณีดังกล่าวอาจต้องดูว่าหน้าที่ของท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลทรัพย์สินของนายจ้างหรือไม่อย่างไร เมื่อมีหน้าที่แล้วใช้ความระมัดระวังในการเฝ้าระวังไม่ให้ทรัพย์สินนายจ้างสูญหายอย่างไรบ้าง ถ้าลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหาย ก็สามารถให้ลูกจ้างชำระค่าเสียหายดังกล่าวได้ โดยอาจหักจากค่าจ้างตาม ม.76 (4) และทำเป็นหนังสือให้ลูกจ้างยินยอมตาม ม.77 ประกอบด้วย ทั้งนี้นายจ้างควรสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการดังกล่าว แต่หากลูกจ้างไม่ยินยอมให้หักค่าจ้าง นายจ้างก็สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายแพ่งได้
    ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

    labourqa
    Moderator
    347995

    เรียน คุณ suparit ตามคำถามที่ท่านสอบถามมานั้น ขออนุญาตอธิบายดังนี้ (1) เรื่องแรกสัญญาจ้างที่ตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ว่าต้องอยู่ครบ 1 ปี หากลูกจ้างลาออกก่อนครบสัญญา 1 ปี ต้องชำระค่าเสียหายให้นายจ้างเป็นค่าจ้างอัตราสุดท้าย จำนวน 6 เดือน นั้น สัญญาดังกล่าวหากลูกจ้างมองว่าการชำระค่าเสียหายจำนวน 6 เดือนนั้น อาจจะไม่เป็นธรรม ท่านสา่มารถยื่นให้ศาลแรงงานใช้อำนาจตามมาตร 14/1 พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 เพื่อให้ศาลแก้ไขสัญญาเท่าที่เป็นธรรมและพอสมคารแต่กรณีได้ และ (2) หลักประการทำงานที่เป็นเงินสดนั้น นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ต้องเรียกรับหลักประกันการทำงานที่เป็นเงินสดกับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับการรักษาดูแลทรัพย์สินนายจ้าง โดยเรียกรับได้ไม่เกิน 60 เท่าของค่าจ้างรายวัน หรือเงินเดือน 2 เดือน เมื่อเรียกรับและต้องเก็บรักษษตามกฎหมายกำหนด คือ เปิดบัญชีธนาคารในนามลูกจ้างเพื่อหลักประกันการทำงาน บริษัท… และเมื่อลูกจ้างลาออกแล้วให้คืนหลักประกันดังกล่าวให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน ซึ่งทั้ง 2 กรณีไม่เกี่ยวข้องกัน กรณีแรกเป็นค่าเสียหายของการทำผิดสัญญาจ้าง กรณีที่ 2 เป็นหลักประกันการทำงาน ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
    1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
    2. สายด่วน 1546
    3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน

กำลังดู 15 ข้อความ - 61 ผ่านทาง 75 (ของทั้งหมด 391)
TOP