Skip to main content

labourqa

Forum Replies Created

กำลังดู 15 ข้อความ - 316 ผ่านทาง 330 (ของทั้งหมด 391)
  • Author
    Posts
  • labourqa
    Moderator
    235535

    อะคิ 234232g
    ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และแก้ไขเพิ่มเติม
    มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
    (๑) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
    (๒) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
    (๓) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
    (๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
    (๕) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
    การหักตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

    labourqa
    Moderator
    235442

    เนื่องจากเรื่องที่ปรึกษามีรายละเอียดค่อยข้างมาก ขอให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์นะครับ

    labourqa
    Moderator
    234930

    กรณีที่ 1. การยื่นคำร้องทุกข์ ( ตามแบบคร. 7) เรียกร้องเงินตามกฎหมาย อย่างไรนายจ้างต้องทราบเพื่อการสอบข้อเท็จจริง ส่วนใหญ่การยื่นจะเป็นกรณีที่พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างนายจ้างกันแล้ว
    กรณีที่ 2. กรณีการร้องเรียนหากนายจ้างปฏิบัติเรื่องใดไม่ถูกต้อง เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจสอบ การปฏิบัติตามกฏหมายให้ถูกต้อง. จะไม่ทีการเปิดเผยชื่อผู้ร้องโดยเฉพะาะกรณีที่เป็นลูกจ้างเป็นผู้แจ้งและยังทำงานอยู่ในบริษัทฯ หรือนายจ้าง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ร้อง

    labourqa
    Moderator
    234926

    ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินตามที่กฎหมายกำหนดให้ร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ค่ะ
    ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมให้ติดต่อสอบถามพนักงานตรวจแรงงาน โดยท่านสามารถติดต่อกรมได้หลายช่องทางค่ะ 1. สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 2. สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 3. ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th) เมนู ติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 4. ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/

    labourqa
    Moderator
    234678

    in reply to: ็้้Hospitel #234675
    labourqa
    Moderator
    234675

    การหักค่าจ้างนั้นไม่สามารถทำได้ หากลูกจ้างไม่ยินยอม

    กรณีของท่านสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่ https://s97.labour.go.th/pub_request/ContactForm.php

    โดยหากไม่ประสงค์ออกนาม ในช่อง ชื่อ-นามกสุล ให้ใส่ไม่ประสงค์ออกนาม

    in reply to: การทดลองงาน #234626
    labourqa
    Moderator
    234626

    ในกรณีของท่าน หากสัญญาจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ และไม่ได้กำหนดไว้ว่าท่านจะต้องทำงานให้เสร็จ ท่านสามารถลาออกได้
    (สัญญาจ้างไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ การตกลงด้วยวาจาก็ถือเป็นสัญญาจ้าง)

    โดยการลาออกนั้น ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานบัญญัติว่า ให้แจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนหนึ่งงวดการจ่าย

    labourqa
    Moderator
    234561

    สอบถามเพิ่มเติมค่ะ 1. พนักงานเรือเป็นเรือประเภทใดคะ เรือบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศ เรือบรรทุกสินค้าในประเทศ หรือเรือประมง
    2. คำสั่งที่สั่งให้กักตัวเป็นคำสั่งของหน่วยงานภาครัฐ หรือว่าคำสั่งของนายจ้าง
    สาเหตุที่ต้องสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเนื่องจากมีรายละเอียดที่แตกต่างกันค่ะ เช่น กรณีเรือประมง หรือเรือบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศ จะไม่อยู่ภายใต้กฏหมายประกันสังคมค่ะ
    กรณีคำสั่งให้กักตัวหากเป็นคำสั่งของหน่วยงานราชการเพื่อเป็นมาตราการในการป้องกันโรคติดต่อไวรัสโควิท-19 และลูกจ้างอยู่ในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม จะจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน พิจารณาจ่ายตาม”กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563″ โดยนายจ้างยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ และรับรองกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยได้ให้ผู้ประกันตนได้ โดยติดต่อ 1506 แต่หากเป็นกรณีที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างกักตัว เพื่อประโยชน์ของนายจ้างฝ่ายเดียว นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างค่ะ

    labourqa
    Moderator
    234462

    การที่ลูกจ้างมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อเนื่องจากใกล้ชิดผู้ป่วยในสถานที่ทำงาน นายจ้างกับลูกจ้างสามารถตกลงกัน เพื่อให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือทำงานที่บ้าน โดยมีการจ่ายค่าจ้างหรือไม่รับค่าจ้างก็สามารถทำได้ หรือถ้าลูกจ้างต้องการใช้สิทธิต่างๆ เช่น การลาพักร้อน ลากิจ เพื่อรับค่าจ้าง ก็สามารถทำได้ครับ

    labourqa
    Moderator
    234434

    ข้อ 1 บริษัทฯ กำหนดสภาพการจ้างไว้แล้วนายจ้างไม่อาจกำหนดสัญญาจ้างแรงงานขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างได้ ยกเว้นกรณีที่สัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า ส่วนกรณีที่บริษัทฯ ปรับลดเงินเดือนลงเหลือร้อยละ 80 หากบริษัทฯและลูกจ้างได้เจรจาตกลงกันเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างไปจากเดิมข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับตามระยะเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกัน และมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างที่ลงลายมือชื่่อ
    ข้อ 2 นายจ้างไม่สามารถหักเงินจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ของลูกจ้างได้เว้นแต่เป็นการหักตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
    หากท่านมีประเด็นไหนที่ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อปรึกษาได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ที่ช่องทาง ดังนี้
    1) สายด่วน 1546
    2) สายด่วน 1506 กด 3 หรือ
    3) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพ ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์จากเว็ปไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน http://www.labour.go.th (เมนู ติดต่อกรม) เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ หรือยื่นคำร้องผ่านระบบออนไลน์ ที่ http://s90.labour.go.th/e_request/login.php กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยินดีให้บริการ

    in reply to: ติดโควิตจากที่ทำงาน #234427
    labourqa
    Moderator
    234427

    กรณีที่ลูกจ้างป่วย ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลา แต่ปีหนึ่งไม่เกินสามสิบวันทำงาน
    หากท่านมีประเด็นไหนที่ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อปรึกษาได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ที่ช่องทาง ดังนี้
    1) สายด่วน 1546
    2) สายด่วน 1506 กด 3 หรือ
    3) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพ ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์จากเว็ปไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน http://www.labour.go.th (เมนู ติดต่อกรม) เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ หรือยื่นคำร้องผ่านระบบออนไลน์ ที่ http://s90.labour.go.th/e_request/login.php กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยินดีให้บริการ

    labourqa
    Moderator
    234110

    การลาออกจากงานอย่างถูกต้อง จะได้รับค่าจ้างเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานค่ะ ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินตามที่กฎหมายกำหนดให้ร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ครับ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมให้ติดต่อสอบถามพนักงานตรวจแรงงาน โดยท่านสามารถติดต่อกรมได้หลายช่องทางครับ 1. สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 2. สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 3. ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th) เมนู ติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 4. ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/

    labourqa
    Moderator
    234091

    การลาไปฉีดวัคซีนลูกจ้างสามารถใช้สิทธิได้ทั้งลากิจหรือลาพักร้อน โดยลาพักร้อนปีละไม่เกินหกวัน ส่วนลากิจปีละไม่เกินสามวันโดยได้รับค่าจ้างครับ

    labourqa
    Moderator
    233610

    จากกรณีดังกล่าว นายจ้างห้ามพนักงานที่ไม่ฉีดวัคซีนเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้าง นายจ้างไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเมื่อลูกจ้างประสงค์จะทำงานแต่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงาน เพื่แประโยชน์ของนายจ้างเองนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างตามวันที่สั่งให้ลูกจ้างหยุดงาน และนายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างฉีดวัคซินไม่ได้ เพราะการฉีดวัคซินเป็นสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างนายจ้างจะบังคับลูกจ้างไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิในร่างกายตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้นายจ้างทำได้

    labourqa
    Moderator
    233609

    เนื่องจากประกาศของ ศบค.เป็นการขอความร่วมมือสถานประกอบการให้จัดรูปแบบการทำงานแบบ WHF เพื่อลดความเสี่ยงในการอยู่รวมกันจำนวนมาก และลดการเดินทาง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด หากนายจ้างไม่ให้ความร่วมมือยังคงเปิดทำงานตามปกติแต่มีมาตราการการป้องกันโรคระบาดด้วยวิธีอื่นอย่างดีและมีประสิทธิภาพตามมาตรการที่รัฐกำหนดและนายจ้างยังคงให้ลูกจ้างมาทำงานตามปกติ นายจ้างก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน แต่หากนายจ้างไม่มีมาตรการตามที่รัฐกำหนดและมีลูกจ้างติดเชื้อโควิดในสถานประกอบกิจการและมีความเสี่ยงจะแพร่เชื้อไปในโรงงาน แต่นายจ้างไม่ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคทราบและไม่มีมาตราการตามที่ ศบค.กำหนด นายจ้างอาจจะมีความผิดตาม พรบ.ควบคุมโรค และพรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และหากสถานประกอบการของนายจ้างมีการแพร่ระบาดและการติดเชื้อของลูกจ้างจำนวนมากและนายจ้างไม่มีมาตรการป้องกันโรคที่ดีจึงทำให้สถานประกอบการของนายจ้างเป็นที่แพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด และลูกจ้างหากไปทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจะทำให้ติดเชื้อไวรัสโควิดและเป็นอันตรายต่อลูกจ้างอย่างแน่นอน ลูกจ้างก็สามารถปฏิเสธที่จะเข้าไปทำงานในสถานที่ที่เป็นการแพร่ของโรคไวรัสโควิดที่เป็นอันตรายได้ ส่วนกรณีของผู้ถาม ถามว่าถ้าหากตั้งครรภ์แปดเดือนแล้ว นายจ้างไม่ให้ทำงานแบบ WHF และให้ไปทำงานปกติจนเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับการติดเชื้อโควิด 19 จากที่ทำงานของนายจ้างที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิดจำนวนมากและนายจ้างไม่มีมาตรการป้องกันที่ดี หรือไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคเข้ามาดำเนินการกักกันโรค จนเป็นสาเหตุให้ลูกจ้างแท้งบุตรจากการติดเชื้อโควิดจากที่ทำงานของนายจ้าง และหากลูกจ้างมีข้อเท็จจริงหรือสามารถพิสูจน์ได้ว่าการแท้งบุตรเป็นสาเหตุโดยครงที่เกิดจากการทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างจะใช้สิทธิทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างก็เป็นสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมาย แต่ตามพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ กฎหมายให้ความคุ้มครองหญิงตั้งครรภ์ โดยห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ทำงานที่เป็นงานอันตราย เช่น งานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรที่มีความสั่นสะเทือน งานแบกหาบหาม ฯลฯ และห้ามให้หญิงตั้งครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00-06.00 น. ห้ามทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด ห้ามเลิกจ้างหญิ่งเพราะเหตุตั้งครรภ์ และให้ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน และมีสทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานหรือจัดงานที่เหมาะสมให้ตามที่แพทย์รับรองได้

กำลังดู 15 ข้อความ - 316 ผ่านทาง 330 (ของทั้งหมด 391)
TOP